การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหา เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบบันทึกหลังสอน และแบบบันทึกอนุทิน จัดการเรียนรู้ 4 วงจรการปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียน (M = 28.45, SD = 0.50) อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าก่อนเรียน (M = 11.74, SD = 0.97) ที่อยู่ในระดับปานกลาง 2) การจัดการเรียนรู้ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบปัญหาเกี่ยวกับการระบุปัญหา การทำความเข้าใจสถานการณ์ของนักเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนและการสืบค้นข้อมูลทำให้ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ 3 แนวทาง ได้แก่ 2.1) การใช้คำถาม “ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร มีเงื่อนไขว่าอย่างไร” ช่วยให้นักเรียนสามารถระบุปัญหาได้ชัดเจนขึ้น 2.2) การสร้างบรรยากาศให้นักเรียนเห็นความสำคัญของปัญหา จะช่วยให้นักเรียนแสดงทักษะการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น และ 2.3) คำชี้แจงหรือแนวทางในการสืบค้นข้อมูล จะช่วยให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น แนวทางดังกล่าวช่วยให้นักเรียนเห็นความสำคัญของปัญหา ระบุปัญหาและแก้ปัญหาได้ดีขึ้นในวงจรปฏิบัติการต่อไป
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชุติมา วิชัยดิษฐ, วิไลวรรณ ทรงศิลป์, จีระวรรณ เกษสิงห์, และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2560). การวิจัยเชิงคุณภาพในวิทยาศาสตร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(3), 114-119. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/80752
ธรรมจักร นิลรักษา, เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล, และ อภิชาติ เลนะนันท์. (2563). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(1), 109-117. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/y1l20
ปริสา วงศ์คำพระ, สมชาย วรกิจเกษมสกุล, และ ศรีสุรางค์ ทีนะกุล. (2556). ผลการใช้รูปแบบการสอนการตั้งปัญหาเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาและการเขียนบันทึกการเรียนรู้ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 43-54. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/4WujJ
ศิขรินทร์ธาร โคตรสิงห์, ประวิต เอราวรรณ์, และ มนูญ ศิวารมย์. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอน วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 11(2), 40-52. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/AaU4J
อาณัติ ขันทจันทร์, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์, และ ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล. (2561). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแบบเรียนรู้ร่วมกันต่อทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 1157-1174. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/tLjT2
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 17-30. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/VGblQ
Akben, N. (2020). Effects of the problem-posing approach on students’ problem solving skills and metacognitive awareness in science education. Research in Science Education 50, 1143–1165. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.1007/s11165-018-9726-7
Christidamayani, A. P., & Kristanto, Y. D. (2020). The effects of problem posing learning model on students’ learning achievement and motivation. Indonesian Journal on Learning and Advanced Education, 2(2), 100-108. Retrieved from https://arxiv.org/ftp/arxiv/papers/2002/2002.04447.pdf
Gonzales, N. A. (1998). A blueprint for problem posing. School Science and Mathematics, 98(8), 448-456. Retrieved from https://shorturl.asia/0LM5q
Hinostroza, J. E., Ibieta, A., Labbé, C., & Soto, M. T. (2018). Browsing the internet to solve information problems: a study of students’ search actions and behaviours using a ‘think aloud’ protocol. Education and Information Technologies, 23, 1933–1953. Retrieved from https://shorturl.asia/A4FrJ
Iwuanyanwu, P. N. (2023). When science is taught this way, students become critical friends: setting the stage for student teachers. Research in Science Education, 53, 1063–1079. Retrieved from https://shorturl.asia/b1jn2
Kemmis, S., & McTaggart, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore: Springer.
Krulik, S., & Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and problem solving: a handbook for elementary school teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Piaget, J. (1983). Piaget's theory. In P. Mussen (Ed). Handbook of child psychology (4th ed). New York: Wiley.
Putri, R. Z., Jumadi, Ariswan, & Kuswanto, H. (2019). Mapping students' problem-solving skills in physics subject after inquiry learning at class X SMAN 1 Prambanan. Jurnal Pendidikan Fisika Indonesia, 15(2), 60-69. Retrieved from https://journal.unnes.ac.id/nju/index.php/JPFI/article/view/15246
Rahman, M. M. (2019). 21st century skill "problem solving": defining the concept. Asian Journal of Interdisciplinary Research, 2(1), 71-81. Retrieved from https://journals.asianresassoc.org/index.php/ajir/article/view/456
Savitri, E. N., Amalia, A. V., Prabowo, S. A., Rahmadani, O. E. P., & Kholidah, A. (2021). The effectiveness or real science mask with QR code on students' problem-solving skills and scientific literacy. Indonesian Journal of Science Education, 10(2), 209-219. Retrieved from https://shorturl.asia/CYGo1
Skinner, B. F. (1953). Science and human behavior. New York: MacMillan.
Suarlin, Negi, S., Ali, M. I., Bhat, B. A., & Elpisah. (2021). The impact of implication problem posing learning model on students in high schools. International Journal of Environment, Engineering & Education, 3(2), 69-74.
Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody’s problem. Science Teacher, 41, 16-18.
Woods, D. R., Hrymak, A. N., Marshall, R. R., Wood, P. E., Crowe, C. M., Hoffman, T. W., Wright, J. D., Taylor, P. A., Woodhouse, K. A., & Bouchard, C. G. K. (1997). Developing problem solving skills: the McMaster problem solving program. Journal of Engineering Education, 75-91. Retrieved from https://shorturl.asia/ugjEX