การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ชมแข พงษ์เจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19)  และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) จำแนกตามข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 322 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ด้วยสถิติที (t-test)  และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)


  ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบทบทวน กำกับ ติดตาม การใช้แหล่งเรียนรู้ ด้านสรุปและรายงานผลการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการดำเนินงานสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ         2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน ที่แตกต่างกัน พบว่าการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Article Details

How to Cite
พงษ์เจริญ ช. . (2025). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(2), 131–150. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/5254
บท
บทความวิจัย

References

กษมาพร ทองเอื้อ. (2563). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่น เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กริชติศักดิ์ เซียมตะคุ. (2566). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

กัญญาณัฐ อินปันสา. (2559). การส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนสันติสุข อำเภอดอยหล่อจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.

ชื่นนภา ขันธพันธ์. (2566). การศึกษาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 8. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.

ธนัชชา สู่คง และภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์. (2564). กรณีศึกษาการจัดการเรียนการสอนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วงที่โควิด-19 ผ่อนคลายของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 10(1), 93 – 108.

บุญเลี้ยง ทุมทอง และประทวน วันนิจ. (2565). ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่มีต่อการจัดการศึกษาไทย: การศึกษาทางเลือก คือทางหลักและทางรอดในการจัดระบบ การศึกษาไทยในอนาคต. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(4), 375 – 391.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ปาริชาติ ร่มโพธิ์ภักดิ์. (2558). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปทุมธานี.

ภาณุพันธ์ พรมสวัสดิ์ และคณะ. (2564). สภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนปากช่องสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 “สู่วิถีใหม่ ด้วยการวิจัยสุขภาพและการบริการ” (น. 1-14 ). นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.

ยง ภู่วรวรรณ และยืน ภู่วรวรรณ. (2564). ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566, จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/

สหัทยา ปัจจุฐาเน และวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 189 – 199.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี, (2566). รายงานผลการดําเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2566. นนทบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กระทรวง ศึกษาธิการ.

สุดารัตน์ งามวิลัย. (2561). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขต ร่มเกล้า-นวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช

Gray, C.F. & Larson E.W. (2000). Project Management – The managerial process. Boston. McGraw Hill.

Dubrin, A. J. & Ireland, R. D. (1993). Management Organization. 2nded. Ohio: South- Western Publishing Co.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Vroman H.W & Luchsinger. V.P. (1994) Managing organization quality. Burt Ridge. IL Richard D Lrwin.