ผลของการสอนแบบสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้การรู้คิดของนักศึกษาวิชาชีพครูในรายวิชาวิธีวิทยาการสอนสังคมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้การรู้คิดของนักศึกษาวิชาชีพครูในรายวิชาวิธีวิทยาการสอนสังคมศึกษา 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้การรู้คิดของนักศึกษาวิชาชีพครูก่อนเรียนและหลังเรียนและ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 54 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา วิธีวิทยาการสอนสังคมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดการตระหนักรู้การรู้คิดของตนเอง จำนวน 52 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
- การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ได้กิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 15 กิจกรรม กิจกรรมละ 4 ชั่วโมง รวม 60 ชั่วโมง มีค่าการประเมินความเหมาะสมได้ค่าระหว่าง 0.80 –1.00
- การเปรียบเทียบระดับการตระหนักรู้การรู้คิดของตนเองในองค์ประกอบด้านความรู้เกี่ยวกับการรู้คิด พบว่า หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าผลต่างเท่ากับ +1.10 ในองค์ประกอบด้านการควบคุมการรู้คิดหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าผลต่างเท่ากับ +0.62
- การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียน (
=32.55 ,
= 2.22) สูงกว่าก่อนเรียน (
=21.50 ,
= 2.44) มีค่าผลต่างเท่ากับ +11.05
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์. (2561). การสะท้อนคิดของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสหกิจศึกษา สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
กัตตกมล พิศแลงาม. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบวงจรของกิ๊บส์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 1-13.
กัลยา ศรีมหันต์, และจิริยา อินทนา. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลการจัดการเรียน การ สอนแบบบูรณาการตามสภาพจริงร่วมกับการสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เรียนให้การดูแล ด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี สถาบันพระบรมราชชนก.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). ลพบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ปิยานี ณ นคร, และคณะ. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(2), 206-221.
พิมพ์พิรัญ ปัญโญ, และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการอภิปราย สะท้อนความคิดเรื่อง ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(2), 265-284.
ศิริพร สว่างจิตร, กุสุมา กังหลี, และนันทิกานต์ กลิ่นเชตุ. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการเรียน การสอนแบบกระบวนการกลุ่มผ่านการสะท้อนคิดเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 333–342.
สังวรณ์ งัดกระโทก, นลินี ณ นคร, ศศิธร ชุตินันทกุล, ปรารถนา พลอภิชาติ, และปิยนาฏ สิทธิฤทธิ์. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินเมตาคอคนิชั่นของนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูด้วยกิจกรรมสะท้อนคิด โดยใช้รูปแบบ 3-R ในรายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 239-249.
ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
เอกชัย วิเศษศรี, และวรรณี แกมเกตุ. (2558). โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยเชิงทดลอง. An Online Journal of Education, 10(4), 333–344.
Anderson, N. J. (2002). The Role of Metacognition in L2 Teaching and Learning. ERIC Digest. t. Retrieved April 15, 2024, from http://www/-ericdigests.org/.
Dewey. (1933). How We Think, In Mental Discipline in Modern Education. Madison:University of Wisconsin Press.
Flavell, J. H. (1976). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive-developmental inquiry. American Psychologist, 34(10), 906-911.
Gibbs, G. (1988). Learning by Doing: A Guide to Teaching and Learning Methods. Oxford Further Education Unit.
Schraw, G., & Dennison, R. S. (1994). Assessing Metacognitive Awareness. Contemporary Educational Psychology, 19(4), 460-475.