การพัฒนาความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเปิด ร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ70 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ70 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนพรประดิษฐ์ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.45-0.8 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.2-0.9 ค่าความเชื่อมั่น 0.86 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยค่าความยากงาย (p) อยู่ระหว่าง 0.50-0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.33-0.83 ค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดย การจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.70 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 73.50 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดย การจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.90 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 76.34 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พฤทธิ์ศิริ บรรณพิทักษ์.(2555). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน:พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
ลัดดา ศิลาน้อย และ อังคณา ตุงคะสมิต. (2550). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนแบบเปิด (Open approach) ในวิชาประวัติศาสตร์สำหรับครูสำหรับนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา หลักสูตร 5 ปี. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พีร์ธนัฐ พิชิตรุจโชติ. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมุติของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1/14 พณิชยการ ในรายวิชาการขาย 1 ภาคเรียนที่ 2/2553. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสันติราษฎร์บริหารธุรกิจ. (เอกสารอัดสำเนา).
พิชญาภา กล้าวิจารณ์. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role Play). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศึกษาพร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2531). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พุทธชาด ชุมแวงวาปี. (2554). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (BackwardDesign) เรื่อง ชีวิตสุขขีตามวิถีพอเพียงด้วยการสอนแบบเปิด (Open Approach) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี.(2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่23). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). เทคนิคการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ. สืบค้นเมื่อ17กรกฎาคม 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/76456/-blog-teamet
ณัฐสุดา สุภารัตน์. (2562). ความสามารถในการพูดภาษาญี่ปุ่นและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธี สอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Robinson, Judy. (2000). “The Effective of a Virtual Role-play Environment as a PreparationActivity for Story Writing.” Edinburgh : The University of Edinburgh.