การพัฒนารูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารจัดการกิจกรรมกีฬาและจัดการแข่งขันกีฬา เครื่องมือการศึกษาเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning) เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการแข่งขันกีฬาโดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้นิสิตมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีทัศนคติที่ดีและส่งเสริมการออกกำลังกายตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ 2) การจัดองค์กร (Organizing) เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์ภายในองค์กร รวมทั้งการจัดระเบียบ แบบแผนวิธีการปฏิบัติของการจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานในแต่ละส่วนเกิดความเข้าใจส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการแข่งขัน 3) การนำและปฏิบัติการ (Leading and Implementing ) เป็นการนำแผนและรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้มาให้ผู้เกี่ยวข้องร่วมมือปฏิบัติการบริหารการจัดการการแข่งขันกีฬา ทั้งในส่วนของคณะกรรมการจัดการแข่งขันและสโมสรนิสิตคณะ-วิทยาลัย 4) การควบคุม (Controlling) เป็นการกำกับ ติดตามผล ตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดการปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผล มีมาตรการกำกับ ควบคุมติดตามและประเมินผลเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดการแข่งขัน มีการรายงานผลและจัดเก็บฐานข้อมูลผลการแข่งขันเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการแข่งขันครั้งต่อไป
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณะกรรมการพัฒนานิสิต. (2564). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ประจำปีการศึกษา 2565-2569). การประชุมคณะกรรมการพัฒนานิสิต ครั้งที่ 3/2564, 10 มีนาคม 2564.
คณะกรรมการพัฒนานิสิต (2565). รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมคณะกรรมการพัฒนานิสิต ครั้งที่ 1/2565, 12 มกราคม 2565.
จิรภัทร ตันติทวีกุล. (2553). รูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จิรศักดิ์ บุญนาค. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา, สำนักวิทยบริการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชครินทร์
ธงชัย เจริญทรัพย์มณี. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พนัส ปรีวาสนา และวัฒนพงษ์ คงสืบเสาะ (2555). สูจิบัตรการแข่งขันกีฬาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กลุ่มงานกีฬาและนันทนาการ กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ:ธรรมสาร.
Bateman, T. S., Snell, S. A., & Konopaske, R. (2009). Management. Editorial: McGraw Hill. México.
Jacobsson, J. & Timpka, T. (2014). Development of an Organizational Model that Bridges The Organization-Practice Barrier in Overuse injury Prevention: An Action Research Study in Swedish Athletics. IOC World Conference on Prevention of Injury & LLLness in Sport.
Lukacs, A. (2021). Mental well-being of university students in social isolation. European Journal of Health Psychology, 28(1), 22–29.