การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กัญญาพัชร ชาตะเคน
วรรณภา โคตรพันธ์
ปริญา ปริพุฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ 2)เพื่อศึกษาคะแนนและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน  3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านกุดเป่ง จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ 2)แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ และ3)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ พบว่าได้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นได้แก่ 1)ตั้งข้อสังเกตในการเรียนรู้ 2)มีความคิดเป็นของตนเอง 3)อภิปรายกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม และ4)ทบทวนเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบ พบว่า 2.1)นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงระบบเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.27 จากคะแนนเฉลี่ยรวม 2.2)นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ โดยรวมอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ชลันดา แสนอุบล. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิด Akita action model ของนักเรียน มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอคิตะ (Akita Action), วารสารเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา. 1(3). 9-16.

ณัฐารส ภูคา. (2564). การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ (Systems thinking) สำหรับนักเรียนชั้น. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทาง การศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญเลี้ยง ทุมทอง และสันติ วิจักขณาลัญฉ์. (2552). การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม กระบวนการคิดเชิงระบบวิชาคณิตศาสตร์ระดับช่วงชั้นที่4, วารสารวิจัยมข. 9(4). 75-82.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สุรียยาสาส์น.

ปวัน มาลากุล ณ อยุธยา. (2564). การเปรียบเทียบการคิดเชิงคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Akita Action ร่วมกับแนวคิดการวัดและประเมินผลแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยาพัชร เที่ยงตรง. (2565). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางอคิตะ เรื่อง การคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิณภัทรา เวทย์วิทยานุวัฒน์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบเรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับผัง กราฟิกเชื่อมโยงความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, เฉลิมชัย มนูเสวต และวาสนา วิสฤตาภา. (2562). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(1). 92-106.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2551). การคิดอย่างเป็นระบบ:การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.

ยุวดี อยู่สบาย และศิรินยา พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบอะคิตะโมเดล AKITA MODEL. บทความวิชาการพัฒนาเทคนิคศึกษา. 32(112). 3-16.

โรงเรียนชุมชนบ้านกุดเป่ง. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565. สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี.

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์สอนเพื่อพัฒนาการ คิดเชิงระบบ, วารสารครุศาสตร์. 45(2). 209-224.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Senge, P.M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Random House Business Books.