การพัฒนาระบบการออกแบบและผลิตรายวิชา MOOCs สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

สุขมิตร กอมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1)สร้างระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs 2) ทดสอบระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs 3)ประเมินและรับรองระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs โดยมีขั้นตอนการวิจัย ระยะที่1การสร้างระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs แหล่งข้อมูลได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินร่างระบบ ระยะที่2 การทดสอบระบบ แหล่งข้อมูลได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาจำนวน 15คน เครื่องมือที่ใช้คือ ระบบการออกแบบและผลิตรายวิชา MOOCs, แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ ระยะที่ 3 การประเมินและรับรองระบบ แหล่งข้อมูลได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรับรองระบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1.กำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีความต้องการระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96),(S.D.=.60)  ระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs มีส่วนประกอบ 1)หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของระบบ 3) หลักการและทฤษฎีในการพัฒนาระบบ 4)บริบท 5) องค์ประกอบระบบ ได้แก่  ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับ  2.การทดสอบระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCs สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มผู้ใช้ระบบมีความรู้ความเข้าใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( equation= 3.76),(S.D.=.59)และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( equation= 3.63),(S.D.=.58)  3.การประเมินและรับรองระบบการออกแบบและผลิตรายวิชาMOOCsสำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนมากเห็นด้วยกับทั้งสี่ประเด็นหลัก โดยมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 4.35),(S.D.=.41)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กอมณี ส. (2024). การพัฒนาระบบการออกแบบและผลิตรายวิชา MOOCs สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(4), 70–93. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4166
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2562). การสร้างระบบออกแบบที่ดีเพื่อออกแบบระบบที่ดี.สืบค้นเมื่อ 19มิถุนายน 2566,จาก https://www.kriengsak.com/Creating-a-good-design-system-To-design-a-good-system

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2553). การจัดระบบทางการศึกษา หน่วยที่1ระบและการจัดระบบ.นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แมนเพาเวอร์กรุ๊ป. (2564). แมนพาวเวอร์ แนะใช้ 3R รีบูท "ทักษะ" รับ ศก.ฟื้นแบบตัว K.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566,จาก https://www.thansettakij.com/general-news/478756.

วริยา เย็นเปิง และ ธีราทัต พงศ์ลดาภัช .(2563).การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนแบบเปิด.การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี,(น.272-280).กาญจนบุรี:สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ศิวัช กาญจนชุม. (2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ : จิตรวัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 - 2565).สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567,จาก https://www.eeco.or.th/th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2565). รายงานประจำปี2565.สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2567,จาก https://eeco.or.th/th/annual-report-th

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2565). รายงานการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก.กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.

Edwards, P. (1985). System analysis design and development: With structured concepts. New York : Holt Rinehart and Winston.

Noe, R A. (2002). Employee Training and Development. New York: McGraw-Hill.

Oleksandr (2024). 7 Edtech Trends That Will Be Cultivating Passion For Knowledge In 2024. Retrieved April 10, 2024 from https://www.forbes.com/sites/forbestechcouncil/2024/02/16/7-edtech-trends-that-will-be-cultivating-passion-for-knowledge-in-2024/