แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดสำหรับครู ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

พาทินธิดา ทมโยธา
กรวรรณ โหม่งพุฒ
ชนิตา พิมพ์ศรี

บทคัดย่อ

ความเครียด เป็นภาวะการเสียความสมดุลทางจิตใจและร่างกาย ซึ่งวัยทำงานที่ประกอบวิชาชีพครูหรือบุคลากรทางการศึกษา จะพบว่ามีความเครียดจากการทำงานในระดับที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแอปพลิเคชันการจัดการความเครียดสำหรับครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยมีแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบแท้จริง วัดผลก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดที่พัฒนาจากแนวคิดการจัดการความเครียดของ กรีนเบิร์ก ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินระดับความเครียด ของกรมสุขภาพจิต (SPST - 20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดของครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄= 3.80 S.D. = 0.25) และครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ได้เข้าร่วมการใช้แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทมโยธา พ. ., โหม่งพุฒ ก., & พิมพ์ศรี ช. . (2024). แอปพลิเคชันการจัดการความเครียดสำหรับครู ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(4), 39–54. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/4122
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต.(2565). ความเครียดและการจัดการความเครียด. กรมสุขภาพจิต: กระทรวงสาธารณสุข.

กาญจนา บุญภักดิ์. (2564). การจัดการเรียนรู้สู่ THAILAND 4.0 : ACTIVE LEARNING. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เครือมาศ ชาวไร่เงิน. (2564). การรับรู้ภาวะสุขภาพและความเครียด ที่พยากรณ์การจัดการ ความเครียด ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี.

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์. (2562). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามาศ เหลืองธานี. (2561). แนวทางการลดความเครียดของครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชวิศา แก้วอนันต์. (2562). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ณัฐธัญญา ประสิทธิ์ศาสตร์. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในต่อทักษะการจัดการ ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2563). ลักษณะงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงาน ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทรวดี ศรีนวล. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียดของนักศึกษา พยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท.

สุสารี ประคินกิจ, นฤมล อังศิริศักดิ์, ศุภารัญ ผาสุก และ พาจนา ดวงจันทร์. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างสุข ผ่อนคลายความเครียด ผ่านแอปพลิเคชั่น (Guide Image Dynamic Meditation Music Therapy Application) ต่อความเครียด ความสุข คุณภาพชีวิต ของ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนเมือง, ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ รางวัลศรีสังวาลย์ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย ครั้งที่ 3: การดูแลผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล (หน้า 225-236). นนทบุรี: กองการพยาบาล สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2560). การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อุดมลักษณ์ เมฆาวาณิชย์. (2556). ความเครียดของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Greenberg, J.S. (2006). Comprehensive stress management. Higher Education, University of Maryland.

Hepburn A, Brown S. (2001). Teacher stress and management of accountability. Human Relations.

Lazarus, R., & S. Folkman. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Spring. Lazarus, R. (1966). Psychological Stress and the Coping Process. New York: McGraw-Hill.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., & Parson, M.A. (2011). Health promotion in nursing Practice. New Jersey: Pearson Education.

Selye, H. (1976). The Stress of Life (rev. edn.). New York: McGraw-Hill.

Yamane, Taro. 1973. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.