ปัจจัยด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

Main Article Content

สุคนธร ปักโคทานัง
ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์
ขวัญธิศศรา อภิสุขสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้บริหารต่อปัจจัยด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 จำนวน 275 คนจาก 38 โรงเรียนได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage  Random  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 39 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่า 0.73 - 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) และไม่มีปัญหาการเกิดภาวะระหว่างตัวแปร Multicollinearity


ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับมาก 2) ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยด้านสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน (X1) ปัจจัยด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม (X3) ปัจจัยด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (X5)  ปัจจัยด้านทรัพยากรทางการศึกษา (X6) และ สามารถร่วมพยากรณ์ทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ได้ร้อยละ 37.30

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 (2565). – ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา ๒๕๖๕. ออนไลน์ สืบค้นจาก

http://www.ccs1.go.th/documentFile/1657253354.pdf

เกียรติพงษ์ เกิดศรี. (2557). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จีรัฐติกุล ดอนวิจารณ์ขจร. (2560). การพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชลณา ทัศมาลี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล.

บุญจันทร์ สีสันต์. 2557. วิธีวิจัยทางการบริหารการศึกษา. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี. ศีกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

พัชรินทร์ รุจิชีพ. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 131-141.

ภูรินท์ ชนิลกุล. (2563). รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนเขตพื้นที่สูงจังหวัดตาก. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 4(14), 159-171.

วารุณี บำรุงสวัสดิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนครพนม.

วิณารัตน์ สุขดี. (2558). โมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สฤทธิ์ ผิวอ่อน. (2559). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การเสริมสร้าง ทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 (2566). นโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ออนไลน์ สืบค้นจาก http://www.ccs1.go.th/documentFile/1679562951.pdf

สุดามาส ศรีนอก. (2557). ปัจจัยสมรรถนะครูและทักษะชีวิตของนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภาพร ภิรมย์เมือง. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(2), 171-180.

อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. McGraw-Hill.