แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย มากที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียน 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย จำนวน 18 แนวทางและ 3) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นประโยชน์และด้านเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินดารัตน์ ทาริน. (2559). ปัญหาด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง, การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฎฐพร แสงฤทธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
วรรณดี สุทธินรากร. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อสร้างความหมายใหม่ในการเรียนรู้เชื่อมโลกและห้องเรียนไว้ด้วยกัน. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). รายงานประจำปี 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรนุช ศรีคำ. (2561). การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2), 157-169
Fucher,R.F. (2001). Motivation and Empowerment in Working - class Students of Spainish : A Classroom Action Research Study. Dissertation Abstracts International, 62(4): 1397-A.
Guskey.T.R. (2000). Evaluating professional development. CA : Corwin Press