การพัฒนาทักษะปฏิบัติการงานเชื่อมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของ HARROW ร่วมกับการสอนแบบสาธิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติการงานเชื่อม ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของ Harrow ร่วมกับการสอนแบบสาธิต 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของ Harrow ร่วมกับการสอนแบบสาธิต กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทยนากลาง จำนวน 20 คน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น เครื่องมือการวิจัย คือ 1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของ Harrow ร่วมกับการสอนแบบสาธิต จำนวน 6 แผน มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 2.1) แบบวัดทักษะปฏิบัติงานเชื่อม จำนวน 3 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.63-0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21-0.42 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.64 2.2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.39- 0.72 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.22 – 0.56 และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 มีทักษะการปฏิบัติการงานเชื่อมจากการเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของ Harrow ร่วมกับการสอนแบบสาธิต คะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 48.75 คิดเป็นร้อยละ 90.28 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของ Harrow ร่วมกับการสอนแบบสาธิต มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.50 คิดเป็นร้อยละ 78.33 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 80.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลทิพย์ บริบูรณ์ และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิต เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. The National Graduate Research Conference. 1996-2005.
กีรติกร ขันติวงศ์. (2557). การใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์เรื่ององขนมไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนันทชาติเกรดสคูล จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จารุวรรณ หนูทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิตอล (PDA). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะบัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ปัญญา สังข์ภิรมย์ และ สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). สุดยอดวิธีสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. นนทบุรี: บริษัทไทยร่มเกล้าจำกัด.
ปิยดา ยศสุนทร. (2553). การใช้การสอนแบบสาธิตร่วมกับการลงมือปฏิบัติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบวนวิชาเคมีประยุกต์. โปรแกรมวิทยาศาสตร์. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พุฒิญา อาจหาญ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์เพื่อเสริมสร้างทักษปฏิบัติรำวงมาตรฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 214-224.
รสรินทร์ ขุนแก้ว. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาศิลปะสำหรับครูปฐมวัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ริปอง กัลป์ติวาณิชย์. (2556). ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2). กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทยนากลาง. (2562). สรุปงานฝ่ายวิชาการวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทยนากลาง: หนองบัวลำภู.
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.
_______ . (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟิก จำกัด.
Harrow, A. (1972). A Taxonomy of the Psychomotor Domain : A Guide for Developing
Behavioral Objectives. New York : Longman.