การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวันครู 2502 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 10 แผน มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ย เท่ากับ 4.82 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.20 - 0.47 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 - 0.86 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.53 - 0.71 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.30 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t –test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพในภูมิภาคต่าง ๆ มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.70/83.50 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ลักษณะทางกายภาพในภูมิภาคต่าง ๆ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.
______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ติณณ์ณภัทร เพชรศิริวรรณ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอร์มาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
นลินนิภา ชัยกาศ และฤทธิไกร ไชยงาม. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมกระดาน ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานบนโลกของเรา ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(2), 178-186.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2541). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนวันครู 2502. (2565). รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. มหาสารคาม: โรงเรียนวันครู 2502.
วรรณภา บำรุงพันธ์ และยุพิน ยืนยง (2564) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(2), 186-207.
วารุณี มาตรสงคราม และวนิดา ผาระนัด. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับสื่อ แอปพลิเคชั่นออนไลน์ Kahoot รายวิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(1), 105-119.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (11 พฤศจิกายน 2565). รายงานผล การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก https://drive.google.com/file/d/1BCCuD5aXDP2j6xEaipfQrj5eGByvhprp/view
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุกัญญา เพ็ชรนาค. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชาภูมิศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม,มหาสารคาม.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.