การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิด CCR
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู คณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แนวคิด CCR 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา คณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 10 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา EDMA201 การวิเคราะห์เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1 ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด CCR แบบทดสอบวัด มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ และวิเคราะห์ แบบสัมภาษณ์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด CCR นักศึกษาครู คณิตศาสตร์มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับปานกลาง และหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิด CCR นักศึกษาครูคณิตศาสตร์มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดีมาก 2) แนวทาง ในการพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ได้แก่ ใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อฝึกสมาธิก่อนเรียน ทบทวนสิ่งที่ตนเองรู้แล้ว ยังไม่รู้ และต้องการรู้ ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัย เป็นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดด้วยตนเอง ฝึกแก้ปัญหา ศึกษาค้นคว้าข้อมูล และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ได้อภิปรายร่วมกัน โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ชคอยช่วยเหลือผู้เรียน ถามกระตุ้นผู้เรียน แนะแนวทางแก้ปัญหาให้ผู้เรียน สะท้อนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ เรียนรู้ในแต่ละครั้งด้วยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ แนวคิด CCR นักศึกษาครูคณิตศาสตร์
Mathematical concept, CCR concept, mathematics student teacher
จักรพงศ์ พรมคำ. (2562). การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและโมเดลการสร้างมโนทัศน์ของลาสเล่ย์และแมทซีนสกี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
พรธิดา สุขกรม และอัมพร ม้าคนอง. (2557). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 599-611.
พัชรพรรณ เก่งการเรือ ทรงศรี ตุ่นทอง และเนติ เฉลยวาเรศ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการโค้ช เรื่อง จำนวนและการดำาเนินการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2(1), 57-68.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
ยุพิน พิพิธกุล. (2530). การสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจักขณ์ พานิช. (2550). การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ: การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
วีณา ก๊วยสมบูรณ์. (2547). การพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาปรัชญาการศึกษาส่วนบุคคลของครูประจำการระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ด., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.
สมพร พลขันธ์ สมทรง สุวพานิช และอรุณี จันทร์ศิลา. (2556). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 183-192.
สลักจิต ตรีรณโอภาส. (มปป). จิตตปัญญาศึกษากับการจัดการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2563, จาก http://edu.psru.ac.th/2011/pdf/Jitta.pdf.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย: กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
สุบิน ยมบ้านกวย. (2559). ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร อำาเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(3), 83-96.
เสวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. Executive Journal มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(3), 26-30.
อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2552). การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์และคำาถามระดับสูง. วารสารครุศาสตร์, 37(3), 1-13.
อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brown. (1992). Using examples and analogies to remediate misconceptions in physics: Factors influencing conceptual change. Journal of Research in Science and Teaching, 29(1), 17-34.
Mink, O.G., Owen, K.Q. & Mink, B.P. (1993). Developing high performance people: The art of coaching. Reading, Massachusetts: Addision-Wesley.
Schoenfeld. (1992). Learning to think mathematically: Problem solving, metacognition, and sense making in mathematics. In D. A. Grouws (Ed.), Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning, (pp.355-358). New York: Macmillan.