ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริการวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ผกามาศ ภูสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวกับการบริการวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริการวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งหมด 200 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 80 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ  และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์


 ผลการวิจัย พบว่า1) ความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวกับการบริการวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ .562 ถึง .811 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 จำนวน 6 ค่า  2) สมการพยากรณ์การบริการวิชาการ ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สมการในรูปคะแนนดิบ Y' = 0.881 + .351X3 + .275X4 + .185X1 สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน  ZY' = .379Z3 + .286Z4 + .198Z1 สามารถทำนายการบริการวิชาการ (Y) ร่วมกันได้ร้อยละ 59.80

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกริช ฆ้องนำโชค โสตถิพัฒน์ วรรณนุรักษ์ เพิ่มพร บุพพวงษ์ ภาษา ทะรังศรี และกษมา สุขุมาลจันทร์. (2564). ความคิดเห็นต่อการให้บริการวิชาการและประเภทของการบริการวิชาการ ของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ. 13(3).131-144.

จิตรานุช น้อยสุทธิสกุล นเรศ สิงห์ครามเขต และ ว่าที่ร้อยตรี จารุวัตร์ จิตตเสถียร. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บิการวิชาการของศูนย์บริการวิชาการแบบจัดหารายได้. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. ออนไลน์. http://repository.rmutr.ac.th/handle/123456789/359;jsessionid=33D640F09B2F16C1CE381ECAE3D5E869

นฤพนธ์ นิลแก้ว และพูลสุข หิงคานนท์ (2563). ที่ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นําชุมชนในการจัดบริการวิชาการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 13(1). 48-61.

ธัญชนก ชุติณัฐภูวดล.(2555). สมรรถนะการบริการวิชาการของสำนักบริการวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา. (2564). แผนบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การจัดสรรงบประมาณ ประจำปี 2564 (หน้า 1-44). มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.