ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 458 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 85 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (rxy=.722) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 4 ด้าน คือ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (X3) การกำหนดทิศทางขององค์การ (X1) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (X2) และการสร้างวัฒนธรรมขององค์การ (X4) มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายเท่ากับร้อยละ 53.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ
Y = .286 + .338 (X3) + .268 (X1) + .184 (X2) + .126 (X4)
Z = .306 (ZX3) +.231 (ZX1) +.166 (ZX2) + .111 (ZX4)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฐชา แลบัว และกุลจิรา รักษนคร. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 17(1), 120-134.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุริยาสาส์น.
ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ชลบุรี : มนตรี.
รื่น หมื่นโกตะ. (2557). กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
วิรันทร์รัตน์ เสือจอย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรีอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล (ปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุกัญญา เตจ๊ะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
สุชาวลี ทองโพธิ์ใหญ่. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. วารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, 9(1), 1-14.
สุทธิชัย นาคะอินทร์. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.แห่งประเทศไทย.
หัสรินทร์ ดอนดี. (2564). ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.
Bailey, C. (2007). Abstract. The Meaning, Antecedents and Outcomes of Employee Engagement: A Narrative Synthesis. International Journal of Management Reviews, 1, 1-23.
Davies, B. & Davies, B.J.(2010). The nature and dimensions of strategic leadership. International Studies in Educational Administration, 38 (1), 5-21.
Dubrin, A.J. (2004). Leadership: Research Findings, Practice and Skills. 4 th ed.New York: McGraw - Hill.
Jonson, G. & Scholes, K. (2003). Explore Cooperate Strategy. Prentics Hall.
Kinicki, A., & Williams, B. (2009). Management 3/e. New York: McGraw-Hill.
Schemerhorn, J.R. (1999). Management, 6th ed. New York: John Wiley & Sons.