การประเมินความต้องการจำเป็นในการแพร่กระจายนวัตกรรม การประชาสัมพันธ์สำหรับการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการแพร่กระจายนวัตกรรมการประชาสัมพันธ์สำหรับการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บัณฑิตอาสา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปใน 3 จังหวัดได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 384 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan. 1970 และทำการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.69 ถึง 0.94 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการแพร่กระจายนวัตกรรมการประชาสัมพันธ์สำหรับการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยรวมสภาพความต้องการอยู่ในระดับมาก อันดับที่ 1 ด้านองค์ประกอบของเนื้อหา/รูปแบบของการประชาสัมพันธ์ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยรวมสภาพความต้องการอยู่ในระดับมาก สภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง อันดับที่ 2 ด้านองค์ประกอบของการแพร่กระจายนวัตกรรมและเทคโนโลยีการประชาสัมพันธ์ โดยรวมสภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับมาก สภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง อันดับที่ 3 ด้านการรับรู้การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยรวมสภาพความต้องการอยู่ในระดับมาก สภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกมล กองแก้ว. (2554). กระบวนการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กุสุมา กูใหญ่และคณะ.(2565).การวิจัยเรื่องการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เพื่อการสร้างความเข้าใจ ในสังคมพหุวัฒนธรรมและสันติสุข.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ธิติ รักชาติ (2555). รูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.พิมพ์ครังที 1. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี
บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต. 14(2), 46-58.
พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553. (2553, 29 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 80. หน้า 1-16.
พัทธนันท์ เด็ดแก้ว. (2550). การประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาขุมชน. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศ. 2(1), 185-201.
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2562). เอกสารศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) เรื่องอนาคตทิศทางการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ : สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
วสันต์ อติศัพท์ และ โอภาส เกาไศยภรณ์. (2561). การวิจัยเรื่องการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.ยะลา:ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วิจิตร อาวะกุล. (2554). การประชาสัมพันธ์: หลักและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์ และ กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2556).การประชาสัมพันธ์ภายใต้กระแสสื่อสังคมออนไลน์. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา.6(2), 24-38.
อาชารินทร์ แป้นสุขและคณะ.(2562).อนาคตภาพการสื่อสารในกระบวนทัศน์ใหม่ว่าด้วย คุณค่าของความรักขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ของคณะผู้แทนพิเศษ ของรัฐบาล กรณีศึกษา กิจกรรมประชุมปฏิบัติการการเสริมสร้างความเข้าใจและ พัฒนาบทบาทเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารการบริหาร จัดการ. 9 (1). (มกราคม-มิถุนายน).121-135
ออนไลน์.ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2563.https://www.bora.dopa.go.th/เข้าถึงเมื่อ 15
มีนาคม 2563
Zongrang, Zhang. (2010). A Research on the Gain and Cost of Bilingual teaching of Non-English- Oriented Course. (Online). Shandong: Shandong Institute of Business and Technology.
Zhao, J. and de Pablos, P.O. (2011). Regional knowledge management: the perspective of management theory. Behaviour & Information Technology, 30(1), 39-49.
Oliveira, T., Thomas, M., Baptista, G. and Campos, F. (2016). Mobile payment: understanding the determinants of customer adoption and intention to recommend the technology. Computers in Human Behavior, 61, 404-414.