การเปรียบเทียบทัศนะของครูสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคการศึกษาที่พลิกผัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนะของครูสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน (Disruptive Education) 2) เปรียบเทียบทัศนะของครู สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 234 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปโคเฮน และสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มแบบอย่างง่ายโดยเปรียบเทียบสัดส่วนตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทัศนะของครูสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ด้านการประชาสัมพันธ์และการบริการที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.67, S.D.=0.40) และ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( = 4.61, S.D.=0.38) 2) การเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน และครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานและสังกัดขนาดสถานศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์. (2562). การศึกษาสมรรถนะหลักสูตรของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2562). เปลี่ยนมุมมองการบริหารองค์กรการศึกษาในโลก Disruptive. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 76.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 19-23.
พิชญ์สินี โภชนุกูล. (2564). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครูในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (0BECQA) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15 (3), 43.
พรพิมล วรโยธา. (2560). สมรรถนะที่พึงประสงค์ทางการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, 65.
ยุพา มั่นเขตกิจ. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผันตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 89.
วัชรพงษ์ อุ้ยวงค์. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิมลรัตน์ ศรีสำอางค์ และ รชฏ สุวรรณกูฏ. (2560). สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา
อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(3), 82-83.
สุทฤศยา สุขสำราญ. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาส เครือข่ายการจัดการ ศึกษาที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง สู่ศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
หทัยพัชร ทองเดช. (2560). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสหวิทยาเขตบูรพาสระบุรี สังกัดเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
McClelland, David C. (1973). "Testing for Competence Rather Than for Intelligence.". America Psychologist. 28(1).