การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ติรยา นามวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาในการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ (2) พัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (4) ประเมินรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำ นวน 22 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ (4) แบบประเมินรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. รูปแบบการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “PACE MODEL” โดยมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (3) ขั้นเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา (4) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและ (5) ขั้นประเมินผล รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.74/81.36 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6925


2. นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอน โดยภาพรวมมีคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
นามวงศ์ ต. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(1), 74–85. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1898
บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เล็กฤทัย ขันทองชัย. (2560). การพัฒนารูปแบบระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการเรียนรูู้ออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการสอน MIAPCED เพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

วิชุดา มาลาสาย. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน. โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สว่างแดนดิน.

สรญา ทองธรรมา. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาการคำ นวณตามแนวทฤษฎีคอนตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร. วรสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1 (2), 3-18.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรังปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านดินจี่. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 12. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานศึกษาธิการภาค 12, ขอนแก่น.

Joyce, B. & Weil, M. (2009). Models of teaching. 8th ed. Boston, Pearson.