ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ชมภูนุช ศรีสุข
คงศักดิ์ สังฆมานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการสอนบูรณาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนบูรณาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 2 ห้องเรียนที่2 โรงเรียนอนุบาลค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) เด็กปฐมวัยร้อยละ 100 มีความพึงพอใจหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศรีสุข ช., & สังฆมานนท์ ค. (2024). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(1), 25–37. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1886
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). การหาประสิทธิภาพของแบบชุดการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (อายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็ก อายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลิฟ แอนด์สิฟ.

กิติยากรณ์ วัฒนาวงศ์. (2548). รูปแบบการจัดการเตรียมการสอนชั้นเด็กเล็ก ในโรงเรียน ประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กุลยา ตันติผาชีวะ. (2544). เทคนิคการบูรณาการสำ หรับผู้เรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขันทอง พะชะ. (2551). ปัจจัยสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำ ภู. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กรรธศร น้อยนันตา. (2558). ผลการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์.

ธนทร ฐานะพรรณดร (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากชุดการสอนแบบบูรณาการคำศัพท์ภาษาไทยคำศัพท์ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ พื้นฐานสำ หรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปิยะนุช สุวรรณเทพ และสุเทพ อ่วมเจริญ. (2558). การศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ิวิราณี สุขทรัพย์ และคณะ. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องการจัดประเภทและเรื่องเซตของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนทรงวิทย์ศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

สกล ป้องคำ สิงห์. (2553). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติสำหรับเตรียมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุพิชฌาย์ ทนทาน. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

แสงดาว แซ่หลู. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองกับแบบผสมผสานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Dewey, J. (1963). Experience and education. New York: Macmillan Publishing Company.