ภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์กับการบริหารสถานศึกษาในภาวะปกติใหม่

Main Article Content

เสรี ออไธสง
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในภาวะปกติใหม่ โดยใช้แนวคิดของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความปกติใหม่ และการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของความปกติใหม่ เป็นกรอบสำหรับการนำเสนอ เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งถือเป็นระดับหน่วยปฏิบัติที่จะสะท้อนคุณภาพการศึกษาได้อย่างแท้จริง โดยที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้แสดงพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำในเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการต่างๆ ให้เกิดรูปธรรมในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา พร้อมทั้งจะต้องบูรณาการนำแนวนโยบายของภาครัฐภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามบริบทของสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นความปกติใหม่ของการบริหารสถานศึกษา บนความท้าทายของผู้บริหารที่จะต้องใช้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อพัฒนานักเรียนให้เต็มศักยภาพภายใต้สถานการณ์และข้อจำกัด พร้อมทั้งปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับความปกติใหม่ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร การจัดรูปแบบการเรียนการสอน การประเมินผลการศึกษาวิถีใหม่ การพัฒนาครูรวมถึงการรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน และการบริหารจัดการทรัพยากรตามลำดับความสำคัญใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ออไธสง เ., & ภูผายาง เ. (2024). ภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์กับการบริหารสถานศึกษาในภาวะปกติใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(1), 7–15. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1883
บท
บทความวิชาการ

References

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์. (2563). Recovery Forum “School Reopening and Teacher Empowerment to cope with the Next Normal in Education. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. จาก https://m.mgronline.com/qol/detail/963000006361.

ธนาภรณ์ นีลพันธนันท์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธีรพนธ์ คงนาวัง. แนวคิดในการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ปี 2565/2566 สำ หรับโรงเรียน อบจ.ชัยภูมิ. ใน การประชุมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). 21 กันยายน 2564. ณ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ. หน้า 1-5.

บุศรา ปุณริบูรณ์. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4 (3).

พิมพ์ศนิตา จึงสิทธิวงษ์. (2563). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักวิชาการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เพ็ญนภา ศรีภูธร. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเพ็ญ พุทธานนท์. (2563). New Normal การศึกษาไทยกับ 4 รูปแบบใหม่การเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. จาก www.thebangkokinsight.com/367124.

วิชัย วงศ์ใหญ่. (2563). New normal ทางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริเดช คำสุพรหม. (2563). รีวิวหลักสูตรยุคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.salika.co/2020/05/05/review-mba-program-post-covid-era/.

สใบแพร สัพโส. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารและการพัฒนาการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.posttoday.com/social/general/628541.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). Recovery Forum: School Reopening and Teacher Empowerment to Cope with the Next Normal in Education. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.nxpo.or.th/th/4856/.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2563). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ยุค 4.0. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ เล็กวงษ์. (2563). บทบาทภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำ ไพพรรณี.

เสาวรัจ รัตนคำฟู. (2563). ผลกระทบของการทำ งานที่บ้านในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564. จาก https://tdri.or.th/tag/.