การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำานวน 15 คน ณ โรงเรียนในจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ผู้วิจัยได้ดำาเนินการวิจัยตามลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบบันทึก ภาคสนาม ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และนำาค่าร้อยละจากแบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหามาวิเคราะห์ระดับของความสามารถ ในการแก้ปัญหาโดยเทียบร้อยละกับเกณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนการประเมินความสามารถในการ แก้ปัญหาเฉลี่ยอยู่ที่ 16.80 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84 โดยมีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 ขึ้นไป ทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนได้ ผู้เรียน สามารถระบุปัญหาและอธิบาย สาเหตุของปัญหาได้อย่างถูกต้อง มีวิธีการคิดแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสาเหตุของปัญหา มองเห็นทาง เลือกที่หลากหลาย เพื่อนำาไปใช้ในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังทำาให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน เกิดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ มีความรับผิดชอบในการทำางาน สามารถพัฒนา ความสามารถในด้านอื่นๆ ได้จากการค้นคว้าหาความรู้ และประสบการณ์ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงของ ผู้เรียน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลจิรา ทนงศิลป์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จิราภรณ์ จิตธรรม. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเอกชนในจังหวัด สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ญดาภัค กิจทวี. (2551). การศึกษาผลการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหา เรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำา วัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์. (2547). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญนำ อินทนนท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการ แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำารุงที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู ้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านกล้วยวิทยา. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปี การศึกษา 2562. ม.ป.ท., ม.ป.พ.
พจนารถ บัวเขียว. (2535). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการวิเคราะห์ตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยการสอนแบบแก้ปัญหาที่ใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิ กากับการสอนตามคู่มือการสอนของหน่วยศึกษานิเทศก์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (วิชาเอกการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.