การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการกำกับตนเองในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชัน

Main Article Content

ณนชพงศธร ชารีชุม
ปริญา ปริพุฒ
สมถวิล ขันเขตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบการกำกับตนเองทั้ง 4 ครั้ง 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชันในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม จำนวน 4 หน่วย แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ แบบประเมินการกำกับตนเอง จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ .85 และเครื่องมือทุกชนิดมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .60 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ


ผลการศึกษาพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชัน ครั้งที่ 3 และ ครั้งที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การกำกับตนเองของนักเรียน ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชันสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ริยาพันธ์. (2562). ผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้สมการกําลังสองตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(72), 112-118.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2551). การเรียนรู้: ขุมทรัพย์ในตน= learning: the treasure within. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

จินตวีร์ โยสีดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการกํากับ ตนเองในการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2554). การสอนการคิด. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

นิวัฒน์ สาระขันธ์. (2564). สอนอย่างไรให้นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. Journal of Roi Kaensarn Academy, 6(4), 203-218.

ประพันธ์ ศิริสุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพรินติ้ง.

ปริญา ปริพุฒ. (2559). การพัฒนารูปการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัญจวิชญ์ ทองสุข. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาร่วมกับคําถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนวารินชําราบ. (2562-2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET).

โรงเรียนวารินชําราบ. (2564). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2563.

วัฒนา บุญเพ็ง. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชัน เรื่อง สมบัติของจำนวนนับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : เจริญการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชนและเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สลิลดา ลิ้มเจริญ. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ.2559/2560. บริษัทหวานกราฟิก จํากัด.

Abu Bakar, M. A., & Ismail, N. (2020). Mathematical Instructional. A conceptual of redesign of active Learning with metacognitive regulation strategy. International Journal of Instruction, 13(3), 633-648.

Daniel, M. & Christian, B. (2020). Metacognition and self-regulation. evidence review. University of Southampton.

Ertmer, P.A. &T.J. Newby. (1996). The Expert Learner: Strategic, Self-regulated, and Reflective. Instructional Science, 24,1-24.

Laistner, N. (2016). Metacognition and student achievement in mathematics. State University of New York.

Winarti, Ambaryani, S. E., & Putranta, H. (2022). Improving learners’ metacognitive skills with self-regulated learning based problem-solving. International Journal of Instruction. 15(1), 139-154.