การพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้และการใช้เหตุผล

Main Article Content

สุภาวดี กาญจนเกต

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้และการใช้เหตุผล หลังเรียนทำให้สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน 2) เปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ระหว่างกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้และการใช้เหตุผล กับกลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research) ด้วยการสุ่มเพื่อกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Random assignment) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 (พินิจพิทยานุสรณ์) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ห้อง 1/1 และห้อง 1/2 จำนวน 33 คน และจำนวน 30 คน ตามลำดับ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565  ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน มีคุณภาพและความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (S.D.= 0.49) 2) แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42–0.53 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( gif.latex?\alpha) เท่ากับ 0.87 และ 3) แบบประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38–0.56 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วย t-test (Dependent sample) สถิติ One-way MANOVA และ Univariate Test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 39.85 และ 35.12 และหลังเรียนเท่ากับ 55.70 และ 49.76 ตามลำดับ และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติทางวิทยาศาสตร์เท่ากับ 55.70 และ 53.30 และคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เท่ากับ 49.76 และ 47.67 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กริ่งแก้ว นวลศรี. (2551). การส่งเสริมทักษะการทดลองและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการทดลองในชุมนุมวิทยาศาสตร์. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วรันญา วิรัสสะ (2562). การศึกษาหาความสัมพันธ์ของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด

สิงห์บุรี สังกัดโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุทธิกร กรมทอง. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวาปีปทุม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2).กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Denby, Neil. (2012). “Learning to Teach : An Introduction.” In Training To Teach: Guide to Students. 2nd Ep. London : SAGE Publications Ltd., pp.1-12.

Gauld, C.F. (1982). “The Scientific Attitude and Science Education : A Critical Re-Appraisal,” Science Education. 66(1): 109-121; January.

Hasan, O.E. and V.Y. Billen. (1975). “Relationships Between Teachers Change in AttitudesTowards Sciences and Some Professional Variables,” Journal of Research inScience Teaching. 12(3): 247-253; July.

McClelland, D.C. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton Century Croffs, Inc., 1953.

Santrock, John W. (2008). Educational Psychology. 3rd ed. New York: McGraw-Hill Companies Inc.

Surayanah and L Karma (2018). The contribution of school climate, achievement motivation, and self-concept to science learning achievement. International Conference on Mathematics and Natural Sciences (IConMNS 2017). IOP Conf. Series: Journal of Physics:

Conf. Series 1040 (2018) 012041. doi: 10.1088/1742-6596/1040/1/012041.

Woolfolk, Anita. (2010). Educational Psychology. 11th ed. Upper Saddle River NJ: Pearson Education, Inc.