การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษา เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำ วัน และ 2) ศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 วงจรปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ของสถาบันอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหวัดชัยนาท จำ นวน 32 คน จากการเลือกแบบจงเจาะ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสะท้อน แบบสังเกต ชิ้นงานซึ่งผู้วิจัยได้นำ มาข้อมูลวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลคุณภาพด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบมี 5 ขั้นตอน ได้แก่1) ขั้นทำ ความเข้าใจปัญหา 2) ขั้นนิยามปัญหา 3) ขั้นสร้างความคิด 4) ขั้นสร้างต้นแบบ และ 5) ขั้นทดสอบ ซึ่งแนวทางการประยุกต์ใช้ควรเลือกใช้สถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตประจำ วันของนักเรียน และใช้คำ ถามเชื่อมโยงสถานการณ์และเนื้อหา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ รวมถึง ลงมือปฏิบัติสร้างชิ้นงานได้จริง และสามารถต่อยอดในการสร้างอาชีพได้ และ2) นักเรียนมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งเรียงลำ ดับจากมากไปน้อยได้ดังนี การผลิตและสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ การสะท้อนตนเอง การทำ งานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์การออกแบบและปรับแต่งความคิด และการสร้างความคิด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรูญพงษ์ ชลสินธุ์. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 32-46.
ณพัฐอร บัวฉุน นฤมล ยุตาคม และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2559). สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 97-106.
พงษ์ชัย ศรีพันธุ์. (2546). วิทยาศาสตร์ประถมศึกษา. การศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และ เทคโนโลยี, 31(121), 8-9.
ภัสสร ติดมา. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education เรื่องระบบของร่างกายมนุษย์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 13(3), 71-76.
วันเพ็ญ คำ เทศ. (2558). การใช้คำ ถามในการจัดการเรียนรู้ (5E Model of Instruction). นิตยสารสสวท., 43(196), 26-30.
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2560). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(64), 43-50.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างความรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. (2554). ยุทธศาสตร์ “2555” กระทรวงศึกษาธิการด้านการอาชีวศึกษา. สืบค้น 18 สิงหาคม 2563, จาก http://www.vec.go.th/Portals/0/Doc/vecit.pdf
สุธิดา การีมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา. สืบค้น 18 สิงหาคม 2563, จาก http://oho.ipst.ac.th/edp-creativeproblem-solving1/
BBC News. (2019). PISA results show that Thai students’ reading is getting worse. Retrieved March 14, 2020, from https://www.bbc.com/thai/international-50642536
Brophy, S. P., Stacy, K., Merredith, P., & Chris, R. (2008). Advancing Engineering Educationin P-12 Classrooms. Retrieved July 26, 2020, from https://online library.wiley.com/doi/abs/10.1002/j
Catalina Foothills School District ; CFSD. (2018). CREATIVITY-INNOVATION. Retrieved July 28, 2020, from https://www.cfsd16.org/application/files/4715/2989/28 59/K12_CREATIVITY-INNOVATION_2018.pdf
Choueiri, L. S., & Mhanna, S. (2013). The design process as a life skill. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 93, 925-929.
Johansson, S. U., Woodilla, J., & Cetinkaya Sendas, M. (2013). Design thinking: Past, present and possible futures. Creativity and Innovation Management, 22(2), 121-146.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The action research planner. (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
Mela, A. (2018). An analysis of a teacher’s questioning related to students’ responses and mathematical creativity in an elementary school in the UK. International Electronic Journal of Elementary Education, 10(4), 475-487.
Morgan, C. (2013). STEM project-based learning: An integrated science, Technology, Engineering, and Mathematics (STEM) Approach. Retrieved August 18, 2020, from https://researchoutput.csu.edu.au/en/publications/stem-project-based-learning-an-integrated-science-technology-engineering
The Stanford d. school Boot camp Bootleg. (2010). Design thinking bootleg. Retrieved August 18, 2020, from https://static1.squarespace.com/static//METHODCARDS-v3-slim.pdf
Wen-Haw, C. (2013). Applying problem-based learning model and creative design to conicsection teaching. Retrieved August 18, 2020, from http://www.naun. org/main/NAUN/educationinfromation/c012008-099.pdf
Yee, F.P. (2002). Using short open-ended mathematics questions to promote thinking and understanding. Retrieved August 18, 2020, from http://math. unipa.it/grim/SiFoong