สมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Main Article Content

ศราวุธ จูมทอง
กุลจิรา รักษนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา 4) ศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำนวน 341 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบตามลำดับขั้นตอน


           ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ 2. การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .661) และ 4. สมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สมรรถนะการบริหารจัดการด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยสมการถดถอยในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานดังนี้


  gif.latex?\hat{Y}= 2.906 + .262(X3)


  gif.latex?\hat{Z}= .220(X3)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จูมทอง ศ. . ., & รักษนคร ก. . (2023). สมรรถนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 97–115. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1282
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร จุลินทร. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญชนก แซ่โค้ว. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระรัตน์ คันธิวงศ์ (2560 การศึกษาการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ ครูวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ภิชาพัชญ์ โหนา (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภคพร เลิกนอก และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8(4), ตุลาคม – ธันวาคม.

ภัคจิรา ผาทอง. (2563). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภคินี มีวารา. (2560). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

วรพงศ์ บงกชสุมาลย์ (2560). การบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนในศุนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1), 185-208.

ศิวานันท์ สังข์ทอง. (2562). การมีส่วนร่วมของครูที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สมชาย เทพแสง. (2560). กลยุทธ์ในการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำร่วมสมัย. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(27), 165-172.

สำนักงานเสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.). (2553). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2560). แนวทางการขอขยายชั้นเรียนหรือห้องเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อนุเทพ กุศลคุ้ม (2561). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

Krejcie and Morgan.1970 : 607 – 610 Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

John Thompson. (1998). Strategic Competency and Measured Performance Outcomes. Journal of Workplace learning. 10(5): 219-231.