ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเขตตลิ่งชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผูบริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตตลิ่งชัน ตามความคิดเห็นของครู (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผูบริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตตลิ่งชัน จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตตลิ่งชัน ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2565 จำนวน 233 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากวิธีการคำนวณสัดส่วนในการสุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตตลิ่งชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) การทดสอบค่า F (F-test) ผลการวิจัย (1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดีมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจรองลงมาคือด้านการสร้างบารมี การกระตุ้นเชาว์ปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตตลิ่งชัน จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดสถานศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ณัฐยาน์ มานุช. (2553). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอเมืองจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรีชา แซ่ซื้อ. (2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลขององค์การ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ร.ม.ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งนภา จันทร์ลี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจีนทบุรี เขต 2 วิทยานิพนธ์ คม.(การบริหารการศึกษา) : บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2562
ภารดี อนันต์นาวี .(2553).หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).ชลบุรี มนตรี หน้า338
อัมพร อานุภาพแสนยากร. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดชัยภูมิ ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (การบริหารการศึกษา) กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หน้า 23
ธนากร คุ้มนายอ. (2562). ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2562). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสยาม
Bass, B. M., & B. J. Avolio. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformation Leadership. California: Sage.
Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Measurement.
Leadership Behaviors of School Principals and Teachers’ Academic Effectiveness,”Bulletin of Education and Research 40,1(April 2018): 99.
Michael Fullan. (2006). Turnaround leadership “The Jossey-Bass education series”. University of Michigan: Jossey-bass.