การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

พิกุล นามฮุง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ สถานศึกษาจึงต้องมีความตื่นตัวและปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสาหรับการดำเนินชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบที่จะบริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย จึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ ในบทความวิชาการนี้จึงขอเสนอประเด็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ (1) ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ (2) ทักษะ การสื่อสาร (3) ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล (4) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่การบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถจัดการศึกษาให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ดีเลิศได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จารุวัจน์ สองเมือง. (2559). การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://deepsouthwatch.org/th/node/8009

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ“ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่21, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ทิศนา แขมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรและการสอน. ” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาการสอน วิจัยและผลิตผลงานวิชาการในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน:ประสบการณ์จากอดีตสู่อนาคตที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสาร มหาวิทยาลัยมหามงกุฏ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 1.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มูลนิธิยุวพัฒน์. (2562). วางแผนบริจาค ทาบุญส่งท้ายปี และการลดหย่อนภาษี. สืบค้นจาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิโรจน สารรัตนะ, พระครูสุธีจริยวัฒน์, พระครูธรรมาภิสมัย, พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, พระณัฐวุฒิ สัพโส, และวิทูล ทาชา. (2561). การบริหารการศึกษาสาหรับศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://www.mbuisc.ac.th/phd/MBU%20Article/administration%2021st.pdf

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1), 1.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2556). ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สานักงานสถิติแห่งชาติ.

สมหมาย อ่าดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 6-7.

อมรรัตน์ เตชะนอก, รัชนี จรุงศิรวัฒน์, และ พระฮอนด้า วาทสทฺโท. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 7(9), น. 1.

Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Bangkok. L. T. P.

The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century Learning. Retrieved from http://21st Century skill. Org/index.php.