ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเล่นสร้างสรรค์แบบไม่มีโครงสร้าง

Main Article Content

อรอุมา ขำวิจิตร์
รวยวรรณ สันติเวส

บทคัดย่อ

ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถด้านสมองที่จะคิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล คิดได้หลายทิศทาง การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงปฐมวัยเพราะเป็นช่วงเวลาที่เซลล์สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งเด็กได้ใช้ความคิดมากใยประสาทก็จะยิ่งเจริญเติบโตมากขึ้น การส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กควรต้องคำนึงถึงพัฒนาการตามวัยของเด็กเป็นหลัก เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เด็กมีพัฒนาการด้านจินตนาการชอบเล่นสมมติและทดลองเล่นบทบาทต่าง ๆ โดยใช้จินตนาการ มีความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้ดี จึงเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุดในการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การเล่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเด็ก เป็นการกระตุ้นการพัฒนาในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคิดสร้างสรรค์ การเล่นแบบไม่มีโครงสร้างนั้นเด็กจะได้เลือกการเล่นด้วยตัวเอง โดยไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ใหญ่ช่วยสนับสนุนโดยการเตรียมการจัดหาสื่ออุปกรณ์ให้เด็กๆ ได้เลือกใช้อย่างหลากหลายและเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

สิทธิชัย ลายเสมา. (2557). ระบบการเรียนรู้ร่วมกันด้วยทีมเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบภควันตภาพโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการทำงานร่วมกัน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อารี พันธ์มณี. (2537). ความคิดสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ 1412.

Guilford,J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Co.

Herrington, S., Brussoni, M. Beyond Physical Activity: The Importance of Play and Nature-Based Play Spaces for Children’s Health and Development. Curr Obes Rep 4, 477–483 (2015). https://doi.org/10.1007/s13679-015-0179-2

Hutchinson, E.D. (1949). How to Think Creativity. New York: Abindon press.

Izumi Taylor, S., Samuelsson, I., and Rogers, C. (2010). Perspectives of Play in Three Nations: A Comparative Study in Japan, the United States, and Sweden. https://www.researchgate.net/publication/43983479_Perspectives_of_Play_in_Three