พฤติกรรมทางเพศกับการเข้าสู่วัยรุ่นออทิสติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัยรุ่นออทิสติกเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่การเป็นผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และวัยรุ่นออทิสติก มักแสดงออกอย่างท้าทายด้วยพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่างไปจากวัยรุ่นทั่วไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของฮอร์โมนเพศและความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจากภาวะออทิสซึม เช่น การสัมผัส ตัวเอง การสำ เร็จความใคร่ด้วยตัวเองในที่สาธารณะ การถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อครอบครัวในหลายมิติ ทั้งในแง่ของการดูแล การเรียน การทำงาน ความวิตกกังวล และความเครียดสะสมของผู้ปกครองเพิ่มขึ้น ดังนั้นก่อนที่เด็กจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจำเป็นต้องให้ข้อมูล สอนหรือความรู้กับเด็กกลุ่มนี้ จากความช่วยเหลือจากพ่อแม่ ครู หรือผู้ดูแล ในการชี้แนะให้เด็กเผชิญกับการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ขั้นตอนของเรื่องเพศศึกษา จากที่กว่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นออทิสติกต้องการการพัฒนาศักยภาพและเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมทางเพศเพื่อปรับตัว ให้ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตในวัยผู้ใหญ่เช่นเดียวกับวัยรุ่นทั่วไป การปฏิบัติตัว ที่เหมาะสมและการปรับพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่นออทิสติกเป็นบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ครู และผู้ดูแล เป็นสิ่งจำเป็นในการชี้แนะและชี้นำเด็ก ๆ เกี่ยวกับความเป็นอิสระและการสอนเพศศึกษาที่เหมาะสมตามบริบทและปรับให้เข้ากับความต้องการและความสามารถของเด็กออทิสติกแต่ละคนเพื่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น และหากวัยรุ่นออทิสติกได้รับการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ ที่มีศักยภาพใกล้เคียงหรือทัดเทียมกับบุคคลทั่วไป ก็สามารถทำประโยชน์ให้ครอบครัวและสังคม ย่อมเกิด คุณค่าและความภาคภูมิใจได้เช่นเดียวกันนับเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่เกิดผลสัมฤทธิ์
Article Details
References
คมชัดลึก. 4 กลไกออทิสติกโรดแม็พ เพิ่มที่ยืน “ออทิสติก” ในสังคม. 2560 สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564, จาก http://www. komchadluek.net/news/edu-health/295390.
จุฑามณี ตระกูลมุทุตา. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. สงขลา: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา;2544.
ฐานเศรษฐกิจ. กรมสุขภาพจิตเผยเด็กไทยป่วยโรคออทิสติก 3 แสนคน เร่งวิจัยหา“ยีนต้นเหตุ”. 2560 สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564, จาก http://www.thansettakij.com/content/183997
ชาตรี วิฑูรชาติ,(2558). ปัญหาพฤติกรรมที่พบบอยในเด็กได้แก้การกระตุ้นตัวเองทางเพศ การกัดเล็บ และการนอนกัดฟัน. ใน: นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ. จิตเวชศิริราช DSM-5. พิมพครั้งที่2. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.กทม : ประยูรศาสนไทยการพิมพ์;2558.
เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. ภาวะออทิสติกและผลกระทบต่อสังคมรวมทั้งการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่าย ออทิสติก. เชียงใหม่; ภาควิชากิจกรรมบำบัดคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
วันทนีย์ เรียงไรสวัสดิ์. ผลการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร สำ หรับนักเรียนออทิสติกระดับปฐมวัย โรงเรียนกาวิละอนุกูล จังหวัดเชียงใหม่. 2552 สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2564, จาก https://www.kroobannok.com/board_ view.php?b_id=29490.
วรรณภา บุญลาโภ. การศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีภาวะออทิสซึม จากการสอนโดยวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) ร่วมกับสถานการณ์จำลอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาพิเศษบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครปฐม; 2556.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ; 2549.
หรรษา องคสิงห์. การปรับพฤติกรรมการรอคอยของเด็กออทิสติกโดยใช้กิจกรรมการเล่น. การค้นคว้า แบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาพิเศษบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่; 2554.
Adolescents on the Autism Spectrum: A Parent’s Guide to the Cognitive, Social, Physical, and Transition Needs of Teenagers with Autism Spectrum Disorders, Chantal Sicile-Kira, Penguin Group, 2006.
Allen KE, Keith DT. A Behavior Modification Classroom for Handicap Children with Problem Behaviors. Exception Children 1970;37(3): 119–27.
Autism Life Skills: From Communication and Safety to Self-Esteem and More – 10 Essential Abilities Every Child Needs and Deserves to Learn, Chantal Sicile-Kira, Penguin Group, 2008.
American Psychiatric Association (APA). Diagnostic and statistical manual of mental disorder, 4th, text rev. Washington DC : Author; 2000.
Ballan, M.S. & Freyer, M.B. (2017). Autism Spectrum Disorder, Adolescence, and Sexuality Education: Suggested Interventions for Mental Health Professionals. Sexuality and Disability. doi:10.1007/s11195-017-9477-9.
Bandura A. Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New York: Prentice-Hall; 1986.
Bogdashina O. Sensory Perceptual Issue in Autism and Asperger Syndrome. New York: Jessica Kingsley; 2003.
Charles LR. Increasing Prosocial Behaviors in Young Children : A Study of Training Generalization and Maintenance Effects. Dissertation Abstracts International 1981;4(1): 5310. 31.
Haracopos D, Pedersen L. Sexuality and autism: Danish report. United Kingdom: Society for the Autistically Handicapped, 1992.
Making Sense of Sex: A Forthright Guide to Puberty, Sex and Relationships for People with Asperger’s Syndrome, Sarah Attwood, Jessica Kingsley Publishers, 2008.
National Sexual Violence Resource Center. (2013). It’s time to talk about it! Talk Early, Talk Often, Prevent Sexual Violence. Prevent sexual violence: An overview of healthy childhood sexual development.
Santrock, J.W. (2009). Perkembangan Anak (Jilid 2) (Edisi 11). Jakarta: Penerbit Erlangga.
Skinner BF. Science and Human Behavior. New York: MacMillan ; 1953.
Widyasti, F.T. (2009). Seksualitas Remaja Autis Pada Masa Puber: Pendekatan Studi Kasus. Semarang: Universitas Diponegoro Press.
Wardhani, D.T. (2012). Perkembangan dan Seksualitas Remaja. Informasi. Volume 17 Nomor 03 Tahun 2012. Bandung: Sekolah Tinggi Kesejahteraan Sosial Bandung.
Zastrow, C.H., and Ashman, K. (2012). Understanding Human Behavior and the Social Environment (Sixth ed). Belmount, CA: Brooks/Cole.
.