ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผล การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

Wanlop Pothai

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทาให้ครูผู้สอนได้รับการยอมรับนับถือศรัทธา รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงานและคอยช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติตระหนักถึงความสำคัญ และคุณค่าของเป้าหมายที่ต้องยึดและปฏิบัติตาม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งในด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้าน การบริหารงานทั่วไป การที่ผู้นำสนใจผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนผู้นำปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเท่าเทียมกันรวมทั้งชี้แนะ และให้ข้อมูลย้อนกลับ สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพัฒนาตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีการจัดองค์กรโครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา สามารถมีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา และการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา ผู้นำต้องมีการจัดการหรือการทางานเป็นกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานโดยการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานให้สูงขึ้นกว่าความพยายามคาดหวัง พัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : เนติกุลการพิมพ์.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2550). ผู้นำที่ดีไม่มีเสื่อม. กรุงเทพฯ : อนิเมทกรุ๊ป.

________. (2556). คุณธรรมจริยธรรมกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นจาก http:/ww.manger.co.th/Local/ViewNews.aspx?

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

_______. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพ ฯ :สยามการพิมพ์.

วิเชียร วงค์คาจันทร์. (2553). ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นจาก http:/ww.piwde.net/kab2/yebma5.htm.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติศาสตร์และศิลป์ สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพ ฯ : เอ็ดดูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพ ฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550). เครื่องมือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริม ความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพ ฯ : สานักงานคณะกรรมการพัฒนา ระบบราชการ.

Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1990). Manual for the Multifactor Leadership Questionnaire. California: Consulting Psychologists Press.

Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbery Park, CA: Sage.

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York: Free Press.