การพัฒนานวัตกรรมการนิเทศทางการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและ หัวหน้าแผนกวิชา ในอาชีวศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

กัมปนาท ทับล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรม การนิเทศทางการศึกษา ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน (2) เพื่อวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศ ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการนิเทศทางการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาหัวหน้าแผนกวิชาในอาชีวศึกษาภายใน สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 72 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ (ก) แบบสัมภาษณ์ (ข) ระบบการนิเทศทางการศึกษา (ค) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ การนิเทศทางการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ด้าน ขอบข่ายงานการนิเทศทางการศึกษาควร ประกอบด้วย (ก) ด้านเตรียมการสอน (ข) ด้านการจัดดกิจกรรมการเรียนรู้ (ค) ด้านสื่อนวัตกรรม (ง) ด้านอุปกรณ์การสอน (จ) ด้านการวัดผลฯ (ฉ) ด้านสภาพทั่วไป การพัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชัน สำรวจด้านฮาร์ดแวร์ ศึกษาวิธีการปฏิบัติงาน และการดำเนินการวิเคราะห์ และพัฒนาตามหลักทฤษฎีวงจร พัฒนาระบบ เลือกฐานข้อมูลคำนึงถึงความปลอดภัย และการจัดทำรายงานสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (2) ผลการวิเคราะห์ ออกแบบพัฒนา ได้ระบบนิเทศทางการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันที่มีคุณสมบัติความ ปลอดภัย การบันทึกข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล การออกรายงาน และมีโมดูลสำหรับผู้ใช้งาน 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าแผนกวิชา กลุ่มครู กลุ่มเจ้าหน้าที่ (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ การนิเทศทางการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดีมาก และผล การประเมินผู้ใช้งานเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพระดับ ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). นวัตกรรมเพ่ืออนาคต. เข้าถึงได้จาก:

https://www.nia.or.th/frontend/bookshelf/zWf7zwTMcEWhI/62d3a82b0f129.pdf

ชมพูนุช โยธี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐพัชญ ศรีราจันทร, & รงุนภา รัตนถาวร. (2565). การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการจัดการข้อมูลพฤติกรรมของ

นักศึกษาระหว่างการศึกษา. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 4(1), 8-9.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่

. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ทิมทอง. (2562). นวัตกรรมที่ดี เทคโนโลยีที่ช่วยครูควบคู่กับระบบใหม่ ๆ ช่วยตอบโจทย์การศึกษาไทย. โพสต์ทูเดย์. เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/pr/595741/

ปุญณพจน์ ทิพย์ธีรปกรณ์. (2564). การศึกษาโปรแกรมการทำงานสำหรับระบบสำนักงานทางการศึกษา สำนักงาน

ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

พลพีระ เชาว์สุธาการ. (2564). กระบวนการเก็บข้อมูลการนิเทศของมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ภัณฑิรา สุปการ. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรพล ฤทธิเดช, เปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์, ยุวธิดา ชิวปรีชา, & วรวัฒน์ จันทร์ตัน. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน

เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์กร. การประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8, หน้า 1231-1239.

สมจิตร ยิ้มสุด. (2563). ความหมายนวัตกรรมการศึกษา. Gotoknow. เข้าถึงได้จาก:

http://www.gotoknow.org/posts/401951

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2566). ดัชนีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

ประจวบคีรีขันธ์: อาชีวศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

อัครชัย ธีรกุล. (2563). การพัฒนารูปแบเว็บไซต์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนวัดราชาธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Tumman, J., Arreerard, W., & Arreerard, T. (2018). The Development Research and Researcher

Database System in Faculty of Information Technology at Rajabhat Maha Sarakham

University. Research report, Maha Sarakham Rajabhat University.