ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

สุดารัตน์ น่วมไม้พุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 276 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie, R.V. & Morgan, D.W., 1970) จากนั้นนำไปสุ่มอย่างง่ายแบบมี สัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test for independent samples) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษา และครู มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน (2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตามตามวุฒิ การศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันที่ ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 3). บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

นิสา แป้นเชียร. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เลอศักดิ์ ตามา, & สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการ

ดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 224-240.

วาสนา พลชาย, & ละดา ดอนหงษา. (2563). ภาวะผู้นำทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของ

ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 1. วิทยาลัยพิชญบัณฑิต.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21.

วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

Kerdtip, C. (2006). Development model of education technology leadership for school

administrators under the office of basic education commission in southern Thailand

(Doctoral dissertation). Songkla University.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational

and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Nak Ai, N. (2006). The factors of E-Leadership characteristics and Factors affecting E-Leadership

effectiveness for basic education principals (Doctoral dissertation). Srinakharinwirot

University, Bangkok.