การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของศูนย์ การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (2) เพื่อหาแนวทางการบริหารงานบุคคลใน สถานศึกษายุคดิจิทัล ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ปฏิบัติงาน ของผู้บริหารและข้าราชการครู ของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนัก บริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและข้าราชการ จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ด้านการเปรียบเทียบทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ ตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า จำแนกตามเพศ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตำแหน่งและประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์เพื่อ การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษายุคดิจิทัล ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546.
กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
นิดา แก้วสว่าง และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2562). ปัจจัยการคงอยู่ของครูโรงเรียนเอกชน ตามความคิดเห็นของ
ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารและ
นวัตกรรมการศึกษา, 2(3), 53-70.
พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์ และภาณุพงศ์ บุญรมย์. (2566). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค
ดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารมหาวิทยาลัยมหา
มกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 12(1), 202.
พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัว
บัณฑิต, 21(2), 51.
ภานุวัฒน์ กลับศรีอ่อน. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของการสรรหาบุคลากรผ่านระบบออนไลน์. วารสารนักบริหาร
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 35(1), 114-115.
วัชระ คณะทรง. (2565). การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ปทุมธานี. Pathumthani University Academic Journal.
สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรม
หาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โสมวลี ชยามฤต. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสาร
สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 109-123.
Ariko, C. O., & Simatwa, E. M. W. (2011). Factor influencing secondary school teacher transfer
requests in Suba District, Kenya: Analytical assessment. International Research Journal,
(7), 1270-1280.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational
and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.