ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับสมรรถนะของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานครการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร จำนวน 201คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและด้านระดับสมรรถนะของครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะของครู พบว่า ภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง และ (3) ด้านการพยากรณ์พบว่า มี 4 ด้าน เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม (X3)ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ (X2) ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม (X4) และด้านการบริหารความเสี่ยง(X5) สามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 71.5 สามารถเขียนในรูปของสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการคะแนนดิบ 𝑌̂̂= 0.989 + 0.291(X3) + 0.227(X2) + 0.159(X4) + 0.103(X5) และสมการคะแนนมาตรฐาน
𝑍 ̂ = 0.357(X3) +0.272(X2) + 0.206(X4) + 0.145(X5)
Article Details
References
กรรณิการณ์ พงศ์กิตติธัช. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารความเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,
อุดรธานี.
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2554). การจัดการความเสี่ยงและตราสารอนุพันธ์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
ณัชธิมา ปัทมทัตตานนท์. (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ณัฐิยา มงคลสวัสดิ์. (2553). การพัฒนามาตรวัดความสำเร็จของระบบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร. สาร
นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2553 (สำหรับหน่วยงานการเรียนการสอน). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรินทร์ ขำวงษ์. (2554). การบริหารความเสี่ยงงานการเงิน บัญชีและพัสดุของสถานศึกษาภาครัฐแห่งหนึ่ง.
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ลักษณ์พิมล ทินกร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพการให้บริการของ
สถานศึกษาภาครัฐ ในกรุงเทพมหานคร. บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
กรุงเทพมหานคร.
วันชัย คำหน่อ, หยกแก้ว กมลวรเดช, และมานี แสงหิรัญ. (2564). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความ
เสี่ยงด้านงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
น่านเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์,
อุตรดิตถ์.
วิวัฒน์ ตู้จำนงค์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, ปทุมธานี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2552). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนา
คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำหรับส่วนราชการระดับกรม. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2552). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2554).
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2550). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง
มหาดไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แผนการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุมนมานต์ อมรมุนีพงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาด้านบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
อัจฉราวรรณ สุขสมสิน. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงในทรรศนะของ
ผู้บริหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.