การพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พจมาน จงไกรจักร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาการบริหารงานด้านวิชาการ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (2) ออกแบบและสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการส่งเสริมงานวิชาการ โดยใช้แอปพลิเคชัน line Official Account ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (3) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน line Official Account สำหรับการส่งเสริมงานวิชาการ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทำหน้าที่บริหารงานวิชาการและใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ทั้งหมด 14 คน และ นักศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อยเป็นผู้ใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ ประจำกลุ่มตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 47 คน การวิเคราะห์เนื้อหาโดยการเขียนแบบพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารงานด้านวิชาการ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นการทำงานร่วมกันของกลุ่มงานต่างๆ หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับชุมชน (2) การประเมินคุณภาพของแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชันไลน์ มีระดับความเหมาะสมเฉลี่ยรวม เท่ากับ มาก 4.20 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ย 0.36 จำแนกเป็นแต่ละด้านดังนี้ ด้านการออกแบบ ระดับมาก 4.10 ด้านการใช้งานของแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันไลน์ ระดับมาก 4.40 (3) ความพึงพอใจเฉลี่ยรวม เท่ากับ มาก 4.10 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ยรวม 0.54 ความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เท่ากับ มาก 4.21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2544). วิวัฒนาการการศึกษานอกโรงเรียนของไทย. โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าวกรุงเทพฯ.

กฤษณี เสือใหญ่. (2558). พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนาไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ และคณะ. (2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565). การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(2), หน้า 623-625.

เกตกนก สวยค้าข้าว. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. การค้นคว้าอิสระ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

จารุณี แก้วประภา. (2563). การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในชุมชน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองพะเยาจังหวัดพะเยา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ธวัชชัย ภูวสิษฐ์พงศา. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

พรรษมน พินทุสมิต. (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

พรพิพัฒน์ ซื่อสัตย์. (2555). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

พิบูลย์ ชยโอว์สกุล. (2565). สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเสริมงามกับชุมชน อำเภอเสริมงาม. วิทยานิพนธ์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น, ลำปาง.

วิสา การบุญ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ข่าวสารผ่าน Line Offcial Account ของบุคลากรทางการแพทย์. สารนิพนธ์. การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

ศุภลักษณ์ รักภักดี. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สาคร ช่วยดำรงค์. (2558). การบริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ เพื่อการเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.