การพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามประสบการณ์และคุณวุฒิการศึกษา (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร การศึกษานี้ดำเนินการโดยวิธีเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำนวน 212 คน โดยวิธีแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามจำแนกตามประสบการณ์และคุณวุฒิการศึกษา พบว่าผู้บริหารที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ควรมี 9 ด้านดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความรู้และการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านการสร้างพลังและแรงบันดาลใจ ด้านการสร้างเครือข่ายและมนุษยสัมพันธ์ด้านภาพลักษณ์และเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการสื่อสาร และด้านคุณลักษณะด้านผู้นำและภาวะผู้นำ
Article Details
References
กนกกาญณ์ สุรันนา.(2566). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษามุกดาหาร.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
กุลจิรา รักษนคร.(พฤษภาคม-มิถุนายน 2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Modern Learning Development. 5(3), หน้า 16
กุลชลี จงเจริญ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 12(1). หน้า194.
แก้วมณี โสพิน.(2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของข้าราชการครูในเครือข่าย พันธปัญญา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
คนึงนิตย์ กิจวิธี. (2560). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.
จตุรงค์ สุวรรณแสง,อัจฉรา นิยมาภา และ วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ.(มกราคม – เมษายน 2564). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 4(1), หน้า 3
จรัส อติวิทยาภรณ์.(2560). ผู้บริหารยุคใหม่. สงขลา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
จิณณวัตร ปะโคทัง.(2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. ศิริธรรมออฟเซ็ท, อุบลราชธานี
จิราภรณ์ ปกรณ์.(2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร
เฉลิมเกียรติ สุ่มเงิน.(เมยายน – มิถุนายน 2564). การศึกษาคุณลักษณะและแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วารสารศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), หน้า 128-129
ชัยยนต์ เพาพาน.(มกราคม – มิถุนายน 2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการบริหาร: กระบวนทัศน์ใหม่ใน ศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา.วารสารบริหารการศึกษามหาลัยขอนแก่น, 12(1),หน้า 96
ชีวิน อ่อนละออ และคณะ.(มกราคม-มีนาคม 2563).ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับนักบริหารการศึกษา. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 10(1), หน้า 108-119.
ฐิตินันท์ นันทะศรี.(ตุลาคม-ธันวาคม 2563).ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. บัณฑิตศึกษา. 17(79), หน้า 18
ฐิติพร หงส์โต. (มกราคม-มิถุนายน 2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่เพื่อก้าวสู่ ประชาคอาเซียน,” สารสนเทศ. 16(1), หน้า 247
ณภัทสรณ์ นรกิจ และ ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ.(2564). คุณลักษณะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่ายที่ 34 สำนักงานเขตมีนบุรีสังกัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), หน้า 63
ณัฐพล เฟื่องฟุ้ง และคณะ.(มกราคม – มิถุนายน 2566). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.วารสารสิรินธรปริทัศน์, 24(1), หน้า 216
ทินกร บัวชู. (มิถุนายน 2562). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. ครุศาสตร์สาร.13(2),. หน้า 289 - 290
ทิพวรรณ ล้วนปสิทธิ์สกุล.(2562) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การศึกษาของนโยบายไทยแลนด์ 4.0. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.ธรรมออฟเซ็ท. หน้า 219
นันทนัช สุขแก้ว (2562). ทักษะครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. สืบค้นจากhttps://edad.edu.ku.ac.th/Thesis%20IS%2026/12%20%20Nantanat.pdf
นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา Prevention Behaviors of Coronavirus Disease 2019 of Songkhla Rajabhat University Students. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), หน้า 31–9.
นิวุธ มีพันธ์. (2559). ตัวแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับ มัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่, เชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น
ปทุมรัตน์ สีธูป.(2560). การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
ปทุมรัตน์ สีธูป.(2560).การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
ปัทมา สุบรรณจุ้ย.(มกราคม – มิถุนายน 2565). ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร.Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University,14(1), หน้า 188
ปิยนาถ บุญมีพิพิธ และจำรัส แจ่มจันทร์. (กรกฎาคม – ธันวาคม). การบริหารการศึกษา...ไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6(2), หน้า 2
ฝนทิพย์ หาญชนะ และคึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2565). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนสหวิทยา เขตชลบุรี 1 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 117-133.
พรทิพย์ สุขเอียด.(2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา
พัฒนศักดิ์ อภัยสม.(2566). อนาคตภาพคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565 – 2574). วิทยานิพนธ์ครุศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, อุบลราชธานี
พีรพัฒน์ ใจแก้วมา. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตแบบปรกติใหม่ของประชาชนชาวไทยระหว่างวิกฤตโควิด-19 ที่ปรากฎในสื่อออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก
ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น.7(2), หน้า 151.
ภัทรา จันยาธรรม.(2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล.วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ยุทธชัย ดำรงมณี. (2562). อนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตามแนวคิดทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร
ยุวเรศ ประดู่ และคณะ.(มกราคม – มิถุนายน 2564). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารการวัดประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(1), หน้า 53
ราณี จีนสุทธิ์ หทัยภัทร จีนสุทธิ์ สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต และพระมหาสิริวัฒนา สิริวัชรกุล. (พฤษภาคม - สิงหาคม 2564). แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(2), หน้า 5
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการ เรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา).พริกหวานกราฟฟิก, กรุงเทพมหานคร
วัฒนากร ต่อซอน.(2561) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วันชัย ราชวงศ์.(ตุลาคม - ธันวาคม 2562). ภาวะผู้นำสถานศึกษายุคดิจิทัล.วารสารสสมคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย,1(4), หน้า 29-30
วิภาลัย วงษา.(2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
สงบ อันทรมณี. (มกราคม – มิถุนายน 2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), หน้า 356
สนุก สิงห์มาตร และคณะ.(2560). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2560, มหาสารคาม.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย.(มกราคม-มิถุนายน 2556) “บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21,” บัณฑิตศึกษา, 7(1), หน้า 5-6.
สายชล มัตถะปะโท และคณะ.(กันยายน – พฤศจิกายน 2564). ความต้องการจาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), หน้า 56
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.(2562). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562,”. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 19-20.
สุกฤตยา ปงกันทา.(2561). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สุชญา โกมลวานิช และคณะ.(2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. การประชุมวิชาการเสนอ ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. 27 มีนาคม 2563, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ขอนแก่น.
สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), หน้า 360
สุภวัช เชาวน์เกษม.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประ สิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร
สุภาวดี พรหมทะสาร.(2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม
สุวิมล โพธิ์กลิ่น.(2560) การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล.โรงพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์ กรุ๊ป,อุบลราชธานี
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร และคณะ.(กรกฎาคม – ธันวาคม 2566).ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 11(2), หน้า 240
หัทยา ชนะสิทธิ. (2560). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. หน้า 8
อติพร เกิดเรือง.(มกราคม - มิถุนายน 2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล.วารสารมหาวิทยาลัยราชภักลำปาง, 6(1), หน้า 173
อภิวัตน์ รัตนวราหะ.(2563) อนาคตศึกษา. ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค, กรุงเทพมหานคร
อมรวดี สินเจริญ.(2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, สงขลา.
เอกชัย กี่สุขพันธ์.(2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). เข้าถึงได้ จาก: http://pracharathschool. go.th/skill/detail/52232
เอกรัตน์ เชื้อวังคำ และวัลลภา อารีรัตน์. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 22. วันที่ 24 มีนาคม2564 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Hoy, W. K. and Miskel, C. G. Educational administration: Theory, reseach, and Practice. 6thed. Boston: McGraw-Hill, 2001.
Jamon, B. E. School Administrators’ Leadership Styles, Attributes and Functions Towards Education Progression-Driven Era. Doctoral Dissertation Development Educational University of Cebu Technological, Philippines, 2017.
Lathan, J. Traits of Successful School Leaders. California: University of San Diego, 2021.
Sheninger, E. Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. 2nded. Thousand Oaks: Corwin, 2019.