การจัดการการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ (SYNECTICS) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

จันทร์จิรา เกิดสุข
ผศ.ดร.วรรณรี ปานศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังใช้แผนการจัดการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์โดยการใช้เทคนิคซินเนคติกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนรัชตวิทยาคม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 23 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ เพื่อเสริมสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 8 แผน และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัชตวิทยาคม  อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย จำนวน 8 แผน โดยคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับดีมาก (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษโดยการใช้เทคนิคซินเนคติกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุสุมา เสนานาค. (2552). การเขียนเชิงสร้างสรรค์และการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนฟ้าแดดสูงยางวิทยาคารที่ใช้รูปแบบการสอนซินเนคติคส์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม.มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

กฤษณา ศิลปนรเศรษฐ์. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซินเนคติกส์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชุลีรัตน์ ประกิ่ง. (2558). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามกระบวนการสอนแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อคู่คิดที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชาการสร้างงานแอนิเมชันชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, มหาสารคาม.

ชัยวาฤทธิ์ สร้อยเงิน. (2553). การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมซินเนคติคส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แหงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิมา นาคาพงศ์. (2559). เอกสารประกอบการสอนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. พะเยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพะเยา. แพง ชินพงศ์. (2551). ความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการออนไลน์.

วาณี สุวรรณโข. (2550). รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษที่เน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์และทักษะทางภาษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโนนสะอาด อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น แนวทางการพัฒนางานวิจัย ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: แอนนาออฟเซตขอนแก่น.

วิทยากร เชียงกูล. (2551). จิตวิทยา ความฉลาด และความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด

วิมลรัตน์ สุนทรวิโรจน์. (2553). การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรางคนางค์ นิ่มราศี. (2550). ผลการสอนวิชาการเขียนร้อยกรองภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบ ซินเนคติกส์ที่มีต่อความสามารถทางการเขียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วราพร ทองจีน. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษความคิดสร้างสรรค์ทาง ภาษา และความเชื่อมั่นในตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษารูปแบบที่ 2 กับการสอนแบบเดิม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการ, 1(2), หน้า 42.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์เรียนรู้ การผลิตและจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ ดิจิตอล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

อารีย์ พันธ์มณี. (2547). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ใยไหม.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. (2552). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์

อัมพร นันทะเสนา และวิราวรรณ์ ชาติบุตร. (2560). การศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, นครราชสีมา

Bloom Benjamin S., et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckay Company.