ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 (2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 263 คน วิธีกำหนดขนาดของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กันยมาส ชูจีน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร, 21(2), หน้า 20-33.
ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (1 กุมภาพันธ์ 2561). คำสอนของพ่อรอให้ลูกหยุดการทุจริตคอรัปชั่น. เดลินิวส์. เข้าถึงได้
จาก: https:/d.dailynews.co.th/article/624630/
ปัทมา แคนยุกต์. (2554). รูปแบบการสร้างเสริม ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต
วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
พิมสุดา ฮุ่งเฮือง. (2560). การบริหารโรงเรียนมัธยมสมบูรณ์ดีเด่นในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว : การ
สร้างทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษาและ ภาวะ
ผู้นำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:
ทิพย์วิสุทธ
สุรัตน์ ไชยชมพู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหา
บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Brown, M. E. and Trevino, L. K. (2006). Ethical leadership : A review and future directions. The
Leadership Quarterly, 17(2006), pp. 595-616.
Northouse, P. G. (2007). Leadership: Theory and Practice. 4 thed. Thousand Oaks, California: Sag