ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของ ผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรสงคราม สังกัดสำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยและระดับการตัดสินใจเข้าทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ (2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยการตัดสินใจเข้าสอบกับการตัดสินใจ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ และ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของผู้เรียนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรสงคราม สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า
(1) ระดับปัจจัยและระดับการตัดสินใจเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตัดสินใจกับผลการตัดสินใจ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของผู้เรียน พบว่ามีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ได้แก่ปัจจัยด้าน เจตคติและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน ด้านการจัดการศึกษา ด้านครอบครัวและ เพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.324 มีค่าสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ร้อยละ 10.5
Article Details
References
กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษา ในโรงเรียน
โชติกาญจน์เขตทวีวัฒนากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฎีองค์กรหลักการ ทฤษฎี การวิจัย และการปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
เนติกุลการพิมพ์.
นุชนาถ พันธุราษฎร์, ณัฐฌา ขำศิริ, และภารดี อนุสุเรนทร์. (2565). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทดสอบ
ความฉลาดในการเรียนรู้(NETSAT) ครั้งที่ 2 ประจำปีพ.ศ. 2565 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือเทียบเท่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โครงการวิจัยสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน. รายงาน การ
วิจัย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), กรุงเทพมหานคร.
วุฒิชัย ชมพู. (2557). รูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในเขตภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
สุทามาศ จันทร์ถาวร. (ตุลาคม -ธันวาคม 2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก ซื้อ
สินค้า บน Facebook ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และ
การบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต, 3(4), หน้า 623.
สุธาดา โพธาราม. (2556). การศึกษาการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในโรงเรียน เทศบาล
เมือง จันทบุรี 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรสงคราม. (2566). รายงานการ ลงทะเบียน
นักศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566. สมุทรสงคราม: สำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสมุทรสงคราม.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill. Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row