ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี และ (3) เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 224 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย (1) ด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ (3) ด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการครองตน รองลงมาคือด้านการครองงาน และด้านการครองคน ตามลาดับ สามารถพยากรณ์การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). คู่มือการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปีพ.ศ. 2557. เข้าถึงได้จาก : http://www.person.doae.go.th/person2011/sites/default/files/new58/profile/goodperson/manual.pdf
ชัชวาล แก้วกระจาย.(2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาสังกัดศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), หน้า 54-67
ณัฐฐากาญจน์ ลักษณะเพ็ญ. (2563). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑติ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี, จันทบุรี.
ธนกร สร้อยสวรรค์ ศุภธนกฤษ ยอดสละ และพนา จินดาศร. (2565 ). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต2. วารสาร มจร อุบล ปริทรรศน์, 7(2), หน้า 1601-1608.
ธีรังกูร วรบารุงกุล. (2562). การนำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาแห่งอนาคต. วารสารวิชาการ VeridianE –Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์, 12(1), หน้า 825-838
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
พิชญาภา ยืนยาว.(2561). คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะครูมืออาชีพในศตวรรษที่21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 17(1), หน้า 71-79.
พระครูสมุห์บัญชา วฑฺฒโน (คันทรง) และพระครูกิตติญาณวิสิฐ. (2559). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 3(1), หน้า 78-88.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (1 ธันวาคม 2545). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 หน้า 19.
เพ็ญศิริ สมเรือน. (2560). การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เสกสรร สุระเสียง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(36), หน้า
-328.
อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
อรอัยริน เลิศจิรชัยวงศา. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี.วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1), หน้า 264 – 279.
Brown, M. E. and Treviño, L. K. (2006). Ethical Leadership: A Review and Future Directions. The Leadership Quarterly, 17(6), pp. 595–616.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers.
Daft, R.L. (2008). The Leadership Experience. 4th ed. Thomson Corporation, Stamford.
Henri Fayol. (1925). The opinion of primary management level and operator level in management theory of Henri Fayol a case study of Hitachi Global Storage. Technologies [Thailand] Limited.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.