การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อวัดระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา (2) เพื่อวัดระดับการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา และ (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการบริหารงานกิจการนักเรียนสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี จำนวน 6 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 178 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ
ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ระดับการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการบริหารงานกิจการนักเรียนสถานศึกษา ได้สมการทำนาย Y = 1.932 + .427X4 + .160X1 โดยมีค่า R2 เท่ากับ .485 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ทับทิม แสงอินทร์ และศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2017). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของ โรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), หน้า 36-46.
นิติกานต์ กรรมสิทธิ์. (2561). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกำส อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, เชียงใหม่.
พจนารถ วาดกลิ่น. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานด้านวิชำการโรงเรียนในสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี, ปทุมธานี.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อรสา ทรงศรี, ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง และปกรณ์ ประจัญบาน. (2557, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารจันทรเกษมสาร, 20(38), 143-151.
Bryman, A. (1986). Leadership and Organization. London: Routedge & Kegan Paul.
Chapin, F.S. (1997). Social Participation and Social Intelligence. In Hanndbook of Research Designate Social Measurement. New York: longman.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Rural Development Participation. Concepts and Measures for Project Design. Implementation, and Evolution. New York : The Rural Development Community Center for International Studies, Cornell University.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in
Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Sashkin, Marshall. (1984). Participative management is an ethical imperative. Organization Dynamics.
Swansburg, R. M. (1996). Management and leadership for nurse managers. Boston: Jones and Bartlett.