การบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

สุธาสินี เอมกมล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยจำแนกตามตำแหน่ง เพศ และวุฒิการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที


ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ตำแหน่งแตกต่างกัน ระดับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เพศแตกต่างกัน มีระดับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการบริหารการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดาวเรือง หาญแท้. (2550). ความตองการของครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

ดิเรก วรรณเศียร. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (มกราคม-มิถุนายน 2563). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), หน้า 1.

นิตยา อารีการ. (2553). การมีสวนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทรรศนะของครูและผู้บริหารสังกัดเทศบาล จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.

พรชัย เจดามาน และคณะ. (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก: https://www.kroobannok.com/88772.

ภูมิภควัจธ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), หน้า 3.

วิโรจน์ สารรัตนะ และคณะ. (2564). การบริหารการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก:

http://www.mbuisc.ac.th/phd/MBU%20Article/administration%2021st.pdf.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (มกราคม-มิถุนายน 2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), หน้า 6-7.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (2565). ข้อมูลอัตรากำลังครู. เข้าถึงได้จาก: www.pck1.go.th.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.

อรวรรณ ไชยชาญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.