ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ณัฐรัฐ รักชาติ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตาม ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวนจำนวน 18 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 806 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวน


     ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 58.3 มีอายุ 21 - 30 ปี มีจำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 41.7 มีประสบการณ์ทำงาน น้อยกว่า 5 ปี มีจำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 41.3 และมีขนาดของโรงเรียน ขนาดใหญ่ มีจำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 47.2 (2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ สรุปได้ดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ด้านการสร้างแรงบันดาลใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ด้านการกระตุ้นทางปัญญาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ นาจุ้ย. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำและแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

บุญช่วย สายราม. (2559). ทักษะภาวะผู้นำองค์กรณ์โรงเรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก htpp://www.gotoknow.org2posts2565807.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2544). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2544). ภาวะผู้นำแรงจูงใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

พระครูสุนทรวัชรกิจ และ, เอกมงคล เพ็ชรวงษ์. (2562). ภาวะผู้นำที่ดีในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(4), หน้า 970-971.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2554). แนวทางการศึกษาภาวะผู้นำ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(5), หน้า 34.

เกศสุดา วรรณสินธ์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารจัด การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จิระเดช สวัสดิภักดิ์. (2562). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

รัตติกรณ์ จงวิศาล (2544). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 20 (5), หน้า 32

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2545). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ.

สุพัตรา ปทุมคณารักษ์. (2553). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอทับปุด เขตพื้นที่การศึกษาพังงา, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม, กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม. ตักศิลา การพิมพ์.

เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

Bass, B. M.; & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.

The Wallace Foundation. (2012). The school principal as leader: Guiding school to better Teaching and Learning. Online. Retrieved from: https://www.wallacefoundation.org/knowledge- center/Documents/The-School-Principal-as-Leader-Guiding-Schools-to-Better-Teaching-and-Learning-2nd-Ed.pdf