การพัฒนาทักษะความร่วมมือของเด็กปฐมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านในประเทศอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 และชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นในประเทศอาเซียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษากับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 บ้านโพธิ์มูลเพียเภ้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 13 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งผ่านกิจกรรมพื้นบ้านในประเทศอาเซียนแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมกลางแจ้ง แบบสังเกตพฤติกรรมก่อนและหลังการวิจัย เรื่องการพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือในเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านในประเทศอาเซียน หลังการทดลอง มีการพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง 2.10 และค่าเฉลี่ยหลังการทดลอง 2.89 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details
References
กัญญณัฏฐ์ นฤทุกข์. (2560). พัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การประกอบอาหารโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
กัญญณัฐ พลอยกระจ่าง. (2557). พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นแบบกลุ่ม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิโรฒ, 15 (2), 85-92.
ขวัญฟ้า รังสิยานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะสมอง-อีเอฟ สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเครือข่าย
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ฉวี บุญทูล. (2557). ผลการส่งเสริมพัฒนาการการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พีรวัฒน์ ชลเจริญ. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านอาเซียนที่มรต่อความฉลาดทางอารมณ์ขงนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฟาลาตี หมาดเต๊ะ. (2557). ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวงขลานครินทร์.
รุ่งนภา จำปาเทศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล
ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
รสรินทร์ ขุนแก้ว. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา เพลง ดนตรี กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
สำหรับเด็กปฐมวัย. สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
สุปราณี แก้วขุมเหล็ก. (2559). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.
สุมาลี บัวหลวง. (2557). ผลของการใช้เกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.