การพัฒนาทักษะการคิดทางบวกสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมแนวทางการเรียนรู้ด้วยจิตศึกษา

Main Article Content

วราภรณ์ พรมสอน
ธิติสุดา ต้นเชื้อ
เมธาวี อรรถาเวช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ จันทะหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการคิดทางบวกของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมจิตศึกษาก่อนและหลังการทดลอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดทางบวกของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมจิตศึกษาก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษากับเด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุ 5 ขวบ  ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่   ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2562  โรงเรียนบ้านด้ามพร้า ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 11 คน เป็นกลุ่มทดลอง ที่ทำการจัดกิจกรรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้จิตศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t-test)


          ผลการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้ (1.) ผลวิเคราะห์การใช้กิจกรรมจิตศึกษาสามารถพัฒนาทักษะการคิดทางบวกของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านด้ามพร้า ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีได้ (2.) หลังการใช้กิจกรรมจิตศึกษาช่วยให้เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดทางบวกสูงกว่าก่อนการพัฒนา คะแนนความแตกต่างก่อนและหลังการพัฒนามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2527). รายงานการศึกษารูปแบบการเรียนการสอน.(อัดสําเนา) คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545ก,มกราคม). การสอนเดินเรื่องระดับอนุบาล.การศึกษาปฐมวัย.6(1) : 40-41.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545ข). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา.กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โปรดักส์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547ก,ตุลาคม). การสอนเด็กปฐมวัยให้คิด.การศึกษาปฐมวัย. 8(4) : 46.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547ข). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548,เมษายน). การคิด.การศึกษาปฐมวัย.9(2) : 29 – 36.เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จํานง วิบูลย์ศรี. (2536). อิทธิพลของภาษาต่อการคิดเชิงเหตุผลในเด็กไทย.พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรพร ไชยเผือก. (2540).ผลของการใช้กิจกรรมการเล่นทรายปียกที่มีต่อ ทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสําเนา.

เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์.(2530).การฝึกสมรรถภาพสมองเพื่ออพัฒนาคุณภาพการคิด. ปริญญาศึกษาดุษฏีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประวิตร ชูศิลป์.(2524).หลักการประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู.

ปานใจ จิรานุภาพ. (2542,ตุลาคม). สอนอย่างไรให้เกิดความคิดเชิงบวก.การศึกษาปฐมวัย. 3(4): 21.

ปานใจ จิรานุภาพ. (2543,มกราคม). พูดอย่างไรจะสร้างความคิดเชิงบวกแก่เด็ก.การศึกษาปฐมวัย. 4(1):34.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ:เอพีกราฟฟิกส์ดี ไซด์

เสาวนีย์ จันทร์ที. (2546). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากธรรมชาติตาม รูปแบบจิตปัญญาที่มีต่อการรับรู้การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.อัดสําเนา.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสําคัญที่สุด.กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิชย์.

วิเชียร ไชยบัง. (2555). โรงเรียนนอกกะลา.พิมพ์ครั้งที่12. 2558