ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Main Article Content

สายสุนีย์ กอสนาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามความคิดเห็นของครู (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากครูในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขตการศึกษาที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การทดสอบค่า t (t-test) การทดสอบค่า F (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงมาได้แก่ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การกระตุ้นทางปัญญา และด้านมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

บุษบาวรรณ วุฒิศักดิ์. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ ในกำรปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงำนเขตพื้นที่กำรศึกษาประถมศึกษาระยอง. ค.ม. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

เรวดี ซ้อนเพชร. (2556). ภาวะผู้นำกำรเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับงานบริหารวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำญจนบุรี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สภาการศึกษาคาทอลิก. (2558). ตลอดกาลนิรันดร์ 350 ปีการศึกษาคาทอลิกไทย. กรุงเทพฯ:อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

สุรินทร์ จารย์อุปการะ. (2556). การจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกในประเทศไทยตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก. วิทยาพินธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

อรวรรณ ภัทรดาเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving Organization Effectiveness Trough Transformational Leadership. Thousand Oaks: Sage

Munir, F., and Aboidullah, M. (2018, April). Gender Differences in Transformational Leadership Behaviors of School Principals and Teachers’ Academic Effectiveness. Bulletin of Education and Research, 40(1), p.99.

John W. Best. (1981). Research in Education. New York: Prentice,Inc.

Peter M. Senge, (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. Currency Doubleday Publishing.