การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1ตามความคิดเห็นของครู (2)เพื่อเปรียบเทียบระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที สถิติค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัย (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1ตามความคิดเห็นของครู พบว่าระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ตามความคิดเห็นของครู มากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 ได้แก่ การวัดผลและประเมินผล รองลงมาได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตามลำดับ (2) เพื่อเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ตามความคิดเห็นของครูพบว่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552 ก). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ: ผู้แต่ง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว. (2559). มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม
Beare, H. et.al.(1985).Creating an Excellent School. New York : Routledge, Training & Development Journal 1985.
Duke, D. L. (1987). School Leadership and Instructional Improvement. New York: Random House.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Sergiovanni, T. J. (1987). Educational Governance and Administration. 2nd ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.