ขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมต่อการเรียกร้องทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ ที่ป่าแหว่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ขบวนการเคลื่อนไหวการทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพที่ป่าแหว่งเป็นหนึ่งในความสนใจที่เกิดขึ้นมาในเชียงใหม่และประเทศอย่างยาวนาน ผู้ศึกษาจึงใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร โดยค้นหาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า การรวมตัวกันของขบวนการเคลื่อนไหวการทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ เป็นการรวมตัวของกลุ่มประชาชนต่าง ๆ เพื่อทวงคืนซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ไม่ให้โดนทำลายจากหน่วยงานของรัฐ โดยใช้กลยุทธ์ผ่านสื่อและกิจกรรม เพื่อกระจายข่าวสารเหล่านี้ให้ทุกคนได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้เมื่อมีการเคลื่อนไหวจึงทำให้สามารถมองเห็นถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบในเวลาเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเรื่องนี้จะจบลงแบบไหน แต่ส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ประชาชนก็ได้รับผลตอบกลับมาในทางที่ดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ปิดฉากคดีป่าแหว่ง! ศาล ปค.ชี้สร้างบ้านพักตุลาการฯบนดอยชอบด้วยกฎหมาย. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1017740
ธนกร วงษ์ปัญญา. (2565). สรุปกรณี #บ้านป่าแหว่ง จากจุดเริ่มต้นต่อสู้คัดค้าน สู่การได้คืน พื้นที่ ที่ยังไม่ถึงฉากสุดท้าย. เข้าถึงได้จาก https://thestandard.co/baan-pawaeng-summary/
วินิจ ผาเจริญ, รุจาดล นันทชารักษ์. (2563). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของภาคพลเมืองต่อการทวงคืนผืน ป่าดอยสุเทพ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7 (1),45-62
ศศินา ขุนทองวงศ. (2564). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อการขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7 (1), 165-174.
สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร. (2565). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและยุทธศาสตร์การสื่อสารของภาคประชาสังคม ในเชียงใหม่. สถาบันพระปกเกล้า. 20 (1),56-80
BBC NEWS ไทย. (2018). "บ้านศาลในป่าแหว่ง" บทสะท้อนความย้อนแย้งนโยบายทวงคืนผืนป่า คสช. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-43708707