วิถีชีวิตและสังคมคู่ขนาน “ปัญหาคนไร้บ้าน” ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง วิถีชีวิตและสังคมคู่ขนาน “ปัญหาคนไร้บ้าน” ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่ทำให้กลายเป็นคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการและแก้ไขปัญหาของคนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีวิธีการศึกษา คือ การสำรวจและคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายคือคนไร้บ้านจำนวน 15 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก และการสอบถามมุมมองความคิดของคนทั่วไปที่มีต่อคนไร้บ้าน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามามีบทบาทในการจัดการและแก้ไขปัญหา และสืบค้นจากข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ผลการศึกษา พบว่า คนไร้บ้านในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย อายุ 35-40 ปี เป็นคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีกิจวัตรประจำวันที่ไม่มีจุดเป้าหมายปลายทางในแต่ละวัน แต่จะกลับมาพักอาศัยหลับนอนที่เดิม โดยจะเลือกที่พักอาศัยที่สว่างและปลอดภัยเพื่อไม่ให้โดนทำร้ายร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะติดสารเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ การเข้าถึงสิทธิการช่วยเหลือที่ได้รับพบว่าคนไร้บ้านได้รับอาหารจากการหน่วยช่วยเหลือเคลื่อนที่มีที่ตั้ง 3 จุด คือ บริเวณท่าแพ บริเวณสถานีขนส่งช้างเผือก บริเวณกาดหลวง สำหรับสาเหตุที่ทำให้กลายมาเป็นคนไร้บ้านมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจถอดถอย ทำให้ตกงานไม่มีงานให้ทำ เลยต้องกลายมาเป็นคนเร่ร่อนใช้ชีวิตกินนอนในพื้นที่สาธารณะ การจัดการและแก้ไขปัญหาของคนไร้บ้านปัจจุบัน มีหน่วยงานภาครัฐได้มาช่วยเหลือปัญหาคนไร้บ้านหลายหน่วยงาน ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมาช่วยในการตั้งหลักชีวิต พัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้าน หรือการเตรียมความพร้อมในการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงในอนาคต ทั้งนี้ยังมีภาคประชาสังคม จิตอาสา รวมถึงประชาชนที่ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและมีส่วนร่วมให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ญาณิกา อักษรนำ. (2558). พลวัตรความหมายคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน. วิทยานิพนธ์, หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ. (2553). มาร์กซิสม์กับการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมไทย. ประชาไท, สืบค้น 30 มิถุนายน 2564 จาก https://prachatai.com/journal/2010/12/32447
บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2546). โลกของคนไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กามหาชน).
บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2558). นักบุญกับคนบาป และศีลธรรมบนท้องถนน: ชีวิตคนไร้บ้าน ในมะนิลา. ชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์, 4, 7, 304–321.
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ. (2017).Sustainable Development Goals (SDGs) [ออนไลน์]. http://164.115.22.73/r9health/wp-content/uploads/2017/07/9. สืบค้น 29 มิถุนายน 2564.
เผ่าไทย สินอําพล. (2560) “พื้นที่และเวลา” ในการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
Soja, E. W. (1996). Thirdsapce: Journeys to Los Angeles and Other Real-and-imagined Places.Massachusetts: Blackwell Publishers Inc. ใน เผ่าไทย สินอําพล 2560 “พื้นที่และเวลา” ใน การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (น.4)
Sustainable Development Goals. [ออนไลน์]. 2558, สืบค้น 29 มิถุนายน, จาก
Department of Economic and Social Affairs Sustainable Development [ออนไลน์]. 2561, สืบค้น 29 มิถุนายน 2564 จาก https://sdgs.un.org/goals