การจัดการทรัพยากรป่าไม้ในสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนบ้านห้วยขมนอก ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วินิจ ผาเจริญ
ชาญชัย ฤทธิร่วม
กรวิทย์ เกาะกลาง

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในสังคมพหุวัฒนธรรม ชุมชนบ้านห้วยขมนอก ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นการศึกษาถึงกระบวนการและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบนำสัมภาษณ์สำหรับกลุ่มผู้นำ/ตัวแทนหย่อมชุมชน 12 คน พบว่า กระบวนการสำหรับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนบ้านห้วยขมนอก ได้แก่ 1) การประชุมเกี่ยวกับการร่วมหาแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 2) การจัดตั้งผู้นำของแต่ละหย่อมชุมชน 3) การจัดตั้งกลุ่ม หรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 4) การวางแผน ร่วมหาแนวทางเพื่อการจัดทำปฏิทินชุมชน และ 5) การสร้างแผนงานประจำปี/ปฏิทินชุมชน และแบบสอบถามสำหรับกลุ่มหัวหน้าหรือตัวแทนครัวเรือน จำนวน 267 คน พบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ 1) ไฟป่าที่มาจากนอกพื้นที่เขตรับผิดชอบ 2) ความแตกต่างทางด้านความคิด 3) ขาดการร่วมมือจากชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม และ 4) บริเวณพื้นที่สถานที่สำคัญเข้าถึงยากลำบาก

Article Details

How to Cite
ผาเจริญ ว., ฤทธิร่วม ช., & เกาะกลาง ก. (2022). การจัดการทรัพยากรป่าไม้ในสังคมพหุวัฒนธรรมของชุมชนบ้านห้วยขมนอก ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, 3(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa/article/view/545
บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 36(2), 215-234.

ธีรฤทธิ์ แป๊ะประภา. (2561). การจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนหนองฮี ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 8 (ฉบับพิเศษ), 29-39.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พิมจันทร์ แสงจันทร์และคณะ. (2557). รูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง จังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษม, 20(39), 19-28.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). ทรัพยากรป่าไม้. เข้าถึงได้จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/forest/forestn.htm

มูลนิธิสืบนาคเสถียร. (2561). รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย 2560-2561. เข้าถึงได้จาก www.seub.or.th/document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงาน-สถานการณ์ป่าไม้.

วิษณุ ทรายแก้ว และคณะ. (2560). พัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชนที่ยั่งยืนของประชาชนบ้านยางโพรง ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 4(2) 273-290.

สมคิด ปัญญาดี. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และการมีส่วนร่วมของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุลิยา อัมมวงศ์ และคณะ. (2560). การเสริมสร้างความรู้ และความตระหนักในการอนุรักษ์ป่า ชุมชนให้แก่เยาวชน โดยการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน บ้าน และวัด : กรณีศึกษา เยาวชนโรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์ เมืองบอลิคันแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14 (65), 95-96.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2559). กระบวนการมีสวนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 111-136.